Friday, January 4, 2008

อย่าส่งจิตออกนอก

คำสอนของหลวงปู่ดุลย์ ประโยคนี้ แล้วแต่คนจะตีความ

แต่สำหรับผม จากประโยคเริ่มต้นที่ผมได้รู้จากหลวงปู่
ประโยคนี้ประโยคเดียวทำให้ผมมีความก้าวหน้าในทางธรรมจนทุกวันนี้

ในเวลานั้นที่ผมสัมผัสคำนี้
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก สำหรับผม หลวงปู่บอกอะไร
หลวงปู่บอกเราให้มีสติสัมปชัญญะ รักษาสติสัมปชัญญะให้มั่นอย่าฟุ้งออก
ถ้าไม่มีสติ จิตมันก็ฟุ้งออกไป
ถ้ามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ จิตก็จะตั้งในสมาธิที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดประโยชน์ได้
นี่แหละความหมายที่ผมเข้าใจ


ถ้าเรามารู้จัก สติสัมปชัญญะ กันโดยย่อแล้ว

คำว่า สติ ถ้าจะว่าให้ละเอียด คือ อาการของจิตที่เรียกว่า สติเจตสิก
ส่วนคำว่า สัมปชัญญะ ก็คือ อาการของจิตที่เรียกว่า ปัญญาเจตสิก
เมื่อมาทำงานร่วมกันในการเพ่งหรือจับอารมณ์ จับอาการของจิต
ก็รวมเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

ถ้าไปค้นต่อเราจะเจอที่หลวงปู่สอน
ให้ดูพฤติของจิต พฤติของจิตก็ คือ อาการของจิต ที่เรียก เจตสิก นี้แล
ไม่ใช่อะไรไกลตัว อย่าให้มองข้ามไปเสียจากพุทธวจนะ
แล้วเราจะเห็นความสอดคล้องต้องกัน
โดยไม่ต้องไปประดิษฐ์คำอธิบายอะไรมาอีก



*** ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ***
พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริจเฉทที่​ 2 ​เจตสิกสังคหวิภาค

สติ​เจตสิก​
​คือ​ความ​ระลึกรู้อารมณ์​และ​ยับยั้งมิ​ให้​จิตตกไป​ใน​อกุศล​ ​ความ​ระลึกอารมณ์ที่​เป็น​กุศล​ ​ความ​ระลึก​ได้​ที่รู้ทันอารมณ์​

สติ​ ​เป็น​ธรรมที่มีอุปการะมาก​ต้อง​ใช้​สติต่อ​เนื่อง​กัน​ตลอดเวลา​
​ใน​ทางเจริญวิปัสสนา​หรือ​เจริญสมาธิ​ ​มุ่งทางปฏิบัติ​ซึ่ง​เป็น​ทางสายเดียวที่​จะ​หลุดพ้น​จาก​กิ​เลสไป​ได้​ ​
โดย​เจริญสติปัฏฐานทาง​ ​กาย​ ​เวทนา​ ​จิต​ ​ธรรม​ ​มีสติระลึกรู้​อยู่​เนื่อง​ ​ๆ​ ​ว่า​ ​กายมีปฏิกูล​ ​ฯลฯ​
ถ้าจิตยังสอดส่ายไปที่อื่น สติจะระลึกรู้อยู่เนืองๆได้อย่างไร


ปัญญา​เจตสิก​มี​แต่ดวงเดียว​ไม่​มีพวก​ ​มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า​ ​ปัญญินทรียเจตสิก​
​ปัญญา​เจตสิก​ ​คือ​ความ​รู้​ใน​เหตุผลแห่ง​ความ​จริงของสภาวธรรม​และ​ทำ​ลาย​ความ​เห็นผิด​ ​หรือ​เป็น​เจตสิก
ที่มี​ความ​รู้​เป็น​ใหญ่​ ​ปกครอง​ซึ่ง​สหชาตธรรม​ทั้ง​ปวง​ ​​


สติ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะ​ ​ดังนี้​
อปิลาปนลกฺขณา​ มี​ความ​ระลึก​ได้​ใน​อารมณ์​เนืองๆ​คือมี​ความ​ไม่​ประมาท​ ​เป็น​ลักษณะ​
​อสมฺ​โมหรสา​ ​มีการ​ไม่​หลงลืม​ ​เป็น​กิจ​
​อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา​ ​มีการรักษาอารมณ์​ ​เป็น​ผล​
​ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา​ ​มีการจำ​ได้​แม่นยำ​ ​เป็น​เหตุ​ใกล้​

สติ​เป็น​เครื่องชักนำ​ใจ​ให้​ยึดถือกุสลธรรม​เป็น​อุดมคติ​ ​ถ้า​หากว่าขาดสติ​เป็น​ประธานเสีย​แล้ว​ สมาธิก็​ไม่​สามารถ​จะ​มี​ได้​เลย​ ​และ​เมื่อ​ไม่​มีสมาธิ​แล้ว​ ​ปัญญาก็​เกิด​ไม่​ได้​

เหตุ​ให้​เกิดสติ​ ​โดย​ปกติมี​ ๑๗ ​ประการ​ ​คือ​
(๑) ​ความ​รู้ยิ่ง​ ​เช่น​ ​สติของบุคคลที่ระลึกชาติ​ได้​พระพุทธองค์ระลึกชาติ​ได้​ไม่​จำ​กัดชาติ​จะ​ระลึก​ได้​ทุกชาติ
ที่พระองค์ปรารถนา​ ​สติของพระอานนท์จำ​พระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัส​ไว้​ได้​หมด​
(๒) ​ทรัพย์​ ​เป็น​เหตุ​ให้​เจ้าของทรัพย์มีสติ​ ​คือเมื่อมีทรัพย์มัก​จะ​เก็บรักษา​ไว้​อย่างดี​ ​และ​จะ​ระมัดระวังจด
จำ​ไว้​ว่าตนเก็บทรัพย์​ไว้​ที่​ใด​
(๓) ​สติ​เกิดขึ้น​เนื่อง​จาก​เกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่ง​ใหญ่​ใน​ชีวิต​ ​เช่น​ ​พระ​โสดาบัน​จะ​จำ​ได้​โดย​แม่นยำ​ถึง​เหตุการณ์ที่ท่าน​ได้​บรรลุ​เป็น​พระ​โสดาบัน​ ​หรือ​บุคคลที่​ได้​รับยศยิ่ง​ใหญ่​ครั้งหนึ่ง​ใน​ชีวิต​
(๔) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​โดย​ระลึก​ถึง​เหตุการณ์ที่ตน​ได้​รับ​ความ​สุขที่ประทับใจ​ ​เมื่อนึก​ถึง​ก็​จะ​จำ​เรื่องต่าง​ ​ๆ​ ​ได้​
(๕) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เนื่อง​จาก​ความ​ทุกข์ที่​ได้​รับเมื่อระลึก​ถึง​ก็​จะ​จดจำ​ได้​
(๖) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึง​กับ​เหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ​
(๗) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเหตุการณ์ที่ตรง​กัน​ข้าม​กับ​ที่​เคยประสบ​
(๘) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​คำ​พูดของคน​อื่น​ ​เช่น​ ​มีคนเตือน​ให้​เก็บทรัพย์ที่ลืม​ไว้​
(๙) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเครื่องหมายที่ตนทำ​ไว้​ ​เช่น​ ​เห็นหนังสือที่​เขียนชื่อ​ไว้​ถูกลืม​ไว้​
(๑๐) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​หรือ​ผลงาน​ ​เช่น​ ​เห็นพุทธประวัติก็ระลึก​ถึง​องค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า​ ​เป็น​ต้น​
(๑๑) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​ความ​จำ​ได้​ ​เช่น​ ​มีการนัดหมาย​ไว้​ ​เมื่อมองไปที่กระดานก็จำ​ได้​ว่า​ต้อง​ไปตามที่​ได้​นัด​ไว้​
(๑๒) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การนับ​ ​เช่น​ ​การเจริญสติระลึก​ถึง​พระพุทธคุณ​ ​ก็​ใช้​นับลูกประคำ​ ​เพื่อมิ​ให้​ลืม​
(๑๓) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การทรงจำ​เรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​ที่ศึกษา​ค้น​คว้า​ ​แล้ว​จำ​เรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​ได้​
(๑๔) ​สติ​เกิดขึ้น​เพราะ​การระลึกชาติ​ได้​ ๑ ​ชาติบ้าง​ ๒ ​ชาติบ้าง​ (บุคคลที่มิ​ใช่​พระพุทธเจ้า)
(๑๕) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การบันทึก​ไว้​ ​เมื่อดูบันทึกก็จำ​ได้​
(๑๖) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​ทรัพย์ที่​เก็บ​ได้​เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้น​ได้​ว่า​ได้​เก็บทรัพย์​ไว้​
(๑๗) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​สิ่งที่​เคยพบเคยเห็นมา​แล้ว​ ​เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึก​ได้​


ปัญญาเจตสิก มีลักขณาทิจตุกะ​ ​ดังน
​ธมฺมสภาวปฏิ​เวธลกฺขณา​ มี​ความ​รู้​แจ้ง​ซึ่ง​สภาวธรรม​ ​เป็น​ลักษณะ​
​โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา​ มีการกำ​จัดมืด​ ​เป็น​กิจ​
​อสมฺ​โมหปจฺจุปฏฺฐานา​ มี​ความ​ไม่​หลงผิด​ ​หรือ​ไม่​เห็นผิด​ ​เป็น​ผล​
​สมาธิปทฏฺฐานา​ มีสมาธิ​ ​เป็น​เหตุ​ใกล้​

กล่าวโดยสรุป ปัญญามี​​ ๓ ​นัย​​ ​คือ​
ก​. ​กัมมสกตาปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้ว่า​ ​กรรม​เป็น​สมบัติของตน

ข​. ​วิปัสสนาปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้ขันธ์​ ๕ ​รูปนาม​ ​เป็น​ ​อนิจจัง​ ​ทุกขัง​ ​อนัตตา​

ค​. ​โลกุตตรปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้​แจ้งแทงตลอด​ใน​อริยสัจจ​ ๔ ​

ปัญญาที่รู้​เห็น​ความ​ที่สัตว์มีกรรม​เป็น​สมบัติของตน​ ​อันเรียกว่า​
​กัมมสกตาปัญญา​ ​นี้​ ​มี​ ๑๐ ​ประการ​ ​คือ​
(๑) ​อตฺถิทินนํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​ทานที่บุคคล​ให้​แล้ว​ ​ย่อมมีผล​
(๒) ​อตฺยิฏฐํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​การบูชาย่อมมีผล​
(๓) ​อตฺถิหุตํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​การบวงสรวงเทวดา​ ​ย่อมมีผล​
(๔) ​อตฺถิกมฺมานํ​ ​ผลํวิปา​โก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​ผลวิบากของกรรมดี​และ​ชั่วมี​อยู่​ (ทำ​ดี​ได้​ดี​ ​ทำ​ชั่ว​ได้​ชั่ว​
ทั้ง​ทางตรง​และ​ทางอ้อม)
(๕) ​อตฺถิอยํ​โลโก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​โลกนี้มี​อยู่​ ​(​ผู้​จะ​มา​เกิด​นั้น​มี)
(๖) ​อตฺถิปโรโลโก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​โลกหน้ามี​อยู่​ ​(​ผู้​จะ​ไปเกิด​นั้น​มี)
(๗) ​อตฺถิมาตา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​มารดามี​อยู่​ (การทำ​ดี​ ​ทำ​ชั่วต่อมารดาย่อม​จะ​ได้​รับผล)
(๘) ​อตฺถิปิตา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​บิดามี​อยู่​ (การทำ​ดี​ ​ทำ​ชั่วต่อบิดาย่อม​จะ​ได้​รับผล)
(๙) ​อตฺถิ​ ​สตฺตโอปปาติกา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​โอปปาติกสัตว์​นั้น​มี​อยู่​ (สัตว์นรก​ ​เปรต​ ​อสุรกาย​ ​เทวดา​ ​พรหม​นั้น​มี)
(๑๐) ​อตฺถิ​ ​โลเกสมณพฺรหฺมณา​ ​สมฺมาปฏิปนฺนา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่าสมณพราหมณ์​ ​ผู้​ปฏิบัติดี​ ​ปฏิบัติชอบ​ ​ประกอบ​ด้วย​ความ​รู้ยิ่ง​ ​เห็นจริง



สัมปชัญญะ​ 4
สัมปชัญญะ​ 4 ( ​ความ​รู้ตัว​ ​ความ​รู้ตัว​ทั่ว​พร้อม​ ​ความ​รู้ชัด​ ​ความ​รู้​ทั่ว​ชัด​ ​ความ​ตระหนัก​ )

1. ​สาตถกสัมปชัญญะ​ 2. ​สัปปายสัมปชัญญะ​ 3. ​โคจรสัมปชัญญะ​ 4. ​อสัมโมหะสัมปชัญญะ

1. ​สาตถกสัมปชัญญะ​

​รู้ชัดว่ามีประ​โยชน์​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​จุดหมาย​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำ​นั้น​มีประ​โยชน์ตาม​ความ​มุ่งหมายอย่างไร​หรือ​ไม่​ ​หรือ​ว่าอะ​ไรควร​เป็น​จุดหมายของการกระทำ​นั้น​ ​เช่น​ ​ผู้​เจริญกรรมฐาน​ ​เมื่อ​จะ​ไป​ ​ณ​ ​ที่​ใด​ที่หนึ่ง​ ​มิ​ใช่​สักว่ารู้สึก​หรือ​นึกขึ้นมาว่า​จะ​ไป​ ​ก็​ไป​ ​แต่ตระหนักว่า​เมื่อไป​แล้ว​จะ​ได้​ปีติสุข​หรือ​ความ​สงบใจ​ ​ช่วย​ให่​เกิด​ความ​เจริญ​โดย​ธรรม​ ​จึง​ไป​ ​โดย​สาระคือ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​เลือกทำ​สิ่งที่ตรง​กับ​วัตถุประสงค์​หรือ​อำ​นวยประ​โยชน์ที่มุ่งหมาย

2. ​สัปปายสัมปชัญญะ​
​รู้ชัดว่า​เป็น​สัปปายะ​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​ความ​เหมาะสมเกื้อกูล​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัดว่า​ ​สิ่งของ​นั้น​ ​การกระทำ​นั้น​ ​ที่ที่​จะ​ไป​นั้น​ ​เหมาะ​กัน​กับ​ตน​ ​เกื้อกูลแก่สุขภาพ​ ​แก่กิจ​ ​เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรม​และ​การเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม​ ​จึง​ใช้​ ​จึง​ทำ​ ​จึง​ไป​ ​หรือ​เลือก​ให้​เหมาะ​ ​เช่น​ ​ภิกษุ​ใช้​จีวรที่​เหมาะ​กับ​ดินฟ้าอากาศ​และ​เหมาะ​กับ​ภาวะของตนที่​เป็น​สมณะ​ ​ผู้​เจริญกรรมฐาน​จะ​ไปฟังธรรมอันมีประ​โยชน์​ใน​ที่ชุมนุม​ใหญ่​ ​แต่รู้ว่ามีอารมณ์​ซึ่ง​จะ​เป็น​อันตรายต่อกรรมฐาน​ ​ก็​ไม่​ไป​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​เลือกทำ​แต่สิ่งที่​เหมาะสมสบายเอื้อต่อกาย​ ​จิต​ ​ชีวิตกิจ​ ​พื้นภูมิ​ ​และ​ภาวะของตน

3. ​โคจรสัมปชัญญะ​
​รู้ชัดว่า​เป็น​โคจร​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​แดนงานของตน​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัด​อยู่​ตลอดเวลา​ถึง​สิ่งที่​เป็น​กิจ​ ​หน้าที่​ ​เป็น​ตัวงาน​ ​เป็น​จุดของเรื่องที่ตนกระทำ​ ​ไม่​ว่า​จะ​ไปไหน​หรือ​ทำ​อะ​ไร​อื่น​ ​ก็รู้ตระหนัก​อยู่​ ​ไม่​ปล่อย​ให้​เลือนหายไป​ ​มิ​ใช่​ว่าพอทำ​อะ​ไร​อื่น​ ​หรือ​ไปพบสิ่ง​อื่น​เรื่อง​อื่น​ ​ก็​เตลิดเพริดไป​กับ​สิ่ง​นั้น​เรื่อง​นั้น​เป็น​นกบิน​ไม่​กลับรัง​ ​โดย​เฉพาะการ​ไม่​ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน​ ​ซึ่ง​รวม​ถึง​การบำ​เพ็ญจิตภาวนา​และ​ปัญญาภาวนา​ใน​กิจกรรมทุกอย่าง​ใน​ชีวิตประจำ​วัน​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​คุมกาย​และ​จิต​ไว้​ให้​อยู่​ใน​กิจ​ ​ใน​ประ​เด็น​ ​หรือ​แดนงานของตน​ไม่​ให้​เขว​ ​เตลด​ ​เลื่อนลอย​ ​หรือ​ ​หลงลืมไปเสีย

4. ​อสัมโมหะสัมปชัญญะ​

​รู้ชัดว่า​ไม่​หลง​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​ตัวเนื้อหาสภาวะ​ไม่​หลงฟั่นเฟือน​ ​คือเมื่อไปไหน​ ​ทำ​อะ​ไร​ ​ก็รู้ตังตระหนักชัด​ใน​การเคลื่อนไหว​ ​หรือ​ใน​การกระทำ​นั้น​ ​และ​ใน​สิ่งที่กระทำ​นั้น​ ​ไม่​หลง​ ​ไม่​สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน​ ​เข้​ใจล่วงตลอดไป​ถึง​ตัวสภาวะ​ใน​การกระทำ​ที่​เป็น​ไป​อยู่​นั้น​ ​ว่า​เป็น​เพียงการประชุม​กัน​ขององค์ประกอบ​และ​ปัจจัยต่าง​ ​ๆ​ ​ประสานหนุน​เนื่อง​กัน​ขึ้นมา​ให้​ปรากฏ​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​หรือ​สำ​เร็จกิจ​นั้น​ ​ๆ​ ​รู้ทันสมมติ​ ​ไม่​หลงสภาวะ​เช่นยึดเห็น​เป็น​ตัวตน​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนัก​ ​ใน​เรื่องราว​ ​เนื้อหา​ ​สาระ​ ​และ​สภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้อง​หรือ​กระทำ​อยู่​นั้น​ ​ตามที่​เป็น​จริง​โดย​สมมติสัจ​จะ​ ​หรือ​ตลอด​ถึง​โดย​ปรมัตถสัจ​จะ​ ​มิ​ใช่​พรวดพราดทำ​ไป​ ​หรือ​สักว่าทำ​ ​มิ​ใช่​ทำ​อย่างงมงาย​ไม่​รู้​เรื่อง​และ​ไม่​ถูกหลอก​ให้​ลุ่มหลง​หรือ​เข้า​ใจผิดไปเสีย​ด้วย​ความ​พร่ามัว​ ​หรือ​ด้วย​ลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ​ ​หรือ​เย้ายวน​เป็น​ต้น

คัดลอก​จาก​ ​พจนานุกรมพุทธศาสน์​ ​ฉบับ​ประมวลธรรม​ ​โดย​พระธรรมปิฎก​ (ป​.​อ​.​ปยุตโต)


โดยสรุปตามความเข้าใจของผม
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก ของหลวงปู่
ได้เตือนสติให้ผมมีความระมัดระวังยิ่ง
ในการรักษา สติ​ ​ความ​ระลึกรู้

สัมปชัญญะ​ ​
ความ​รู้ตัว​ทั่ว​พร้อม​ ​มี​ความ​รู้​เข้า​ใจสภาวะการตาม​ความ​เป็น​จริง

อาตาปี​ ​
มี​ความ​เพียรพยายามตั้งใจเอา​ใจ​ใส่​ ​มี​โยนิ​โสมนสิการ​ ​ตามกำ​หนดสภาวการต่างๆ​

สติมา​
​อารมณ์ต่างๆ​ ​รูปนามสังขารเกิดขึ้นมา​ใน​ที่​ใด​ ​มีสติกำ​หนด​ใน​ที่​นั้น​ ​ไม่​ให้​คลาดเคลื่อน​จาก​ปัจจุบันอารมณ์​ ​ขณะที่สติ​เกาะ​อยู่​กับ​ปัจจุบันอารมณ์นี้​เองสมาธิก็​เกิด​ด้วย

สัมปชา​โน​ ​
เมื่อ​ ​วิริยะ​ ​สติ​ ​สมาธิ​ ​ทำ​หน้าที่​กัน​อย่างบริบูรณ์​ ​โยคีบุคคล​สามารถ​กำ​หนดรู้​ ​เห็นการเกิดดับของรูปนาม​ ​เห็นไตรลักษณ์​ ​มี​ความ​รู้​เข้า​ใจสภาวะการตาม​ความ​เป็น​จริงนี้​เรียกว่า​ ​ปัญญินทรีย์​เจตสิก​ ​ได้​แก่​ ​สัมปชัญญะ

อาตาปี​ ​สติมา​ ​สัมปชา​โน​ ​นี้​เป็น​หัวใจของสติปัฏฐานสี่
และเป็นหัวใจของการปฏิบัติโดยความระมัดระวังของผม
มาโดยตลอดนับตั้งแต่ ได้อ่านประโยคสั้นๆประโยคนี้ของหลวงปู่เป็นต้นมา


ที่จริงแล้ว ผมเชื่อว่า
ท่านอื่นๆ เองก็อาจจะเข้าใจความหมายต่างออกไปได้นอกจากนี้อีกมากมาย

เพราะพระธรรมนั้น ​เป็น สวากขา​โต ภควตาธัมโม ​ธรรมะอันพระ​ผู้​มีพระภาคเจ้าตรัสดี​แล้ว สันทิฏฐิ​โก ​อัน​ผู้​ปฏิบัติ​ผู้​ได้​บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิ​โก ไม่​ประกอบ​ด้วย​กาลเวลา เอหิปัสสิ​โก ควรเรียก​ให้​มาดู โอปนยิ​โก ควรน้อม​เข้า​มา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ​อันวิญญูคือ​ผู้​รู้พึงรู้​เฉพาะตน

ธรรมนั้นกล่าวโดยย่อก็ยาก สรุปยิ่งยาก เพราะธรรมไม่ได้มีความหมายแค่สิ่งที่เราเขียน
เหมือนเวลาเราเข้าใจอะไรก็ตาม จะมาสรุปเป็นภาษาเขียนอย่างไรก็อธิบายไม่ได้ทั้งหมด

แต่ถ้าเราแต่ละคนได้ขวนขวายจนเข้าใจ ในอนาคตข้างหน้า
อย่างน้อยก็พอหวังได้ว่า ใกล้เป้าหมายเข้าไปอีกหนึ่งก้าว

ขอให้เจริญในธรรมครับ

1 comment:

Anonymous said...

Hello. This post is likeable, and your blog is very interesting, congratulations :-). I will add in my blogroll =). If possible gives a last there on my blog, it is about the Webcam, I hope you enjoy. The address is http://webcam-brasil.blogspot.com. A hug.