Tuesday, January 1, 2008

คิริมานนนทสูตร​

คิริมานนนทสูตร​ ( ​อุบายรักษา​โรค​ ) : ​ทางไปสู่พระนิพพาน

ดูกรอานนท์ ​บุคคล​ผู้​ที่​เข้า​ใจว่าบุญกุศล​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพานมี​ผู้​นำ​มา​ให้​ ​บาปกรรม​ ​ทุกข์​โทษ​ ​นรก​ ​และ​สัตว์ดิรัจฉาน​ ​ก็มี​ผู้​พา​ไป​ทั้ง​สิ้น​ ​บุคคล​ผู้​ที่​เข้า​ใจอย่างนี้ชื่อว่า​เป็น​ผู้​หลงโลกหลงทาง​ ​หลงสงสาร​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​แม้​จะ​ทำ​บุญ​ให้​ทานสร้างกุศล​ใดๆ​ ​ที่สุดจนออกบวช​ใน​พระพุทธศาสนา​ ​ก็หา​ความ​สุขมิ​ได้​ ​จะ​ได้​เสวยแต่ทุกข์​โดย​ฝ่ายเดียวฯ

ดูกรอานนท์ ​บุญ​กับ​สุขหาก​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อมีบุญก็ชื่อว่ามีสุข​ ​บาป​กับ​ทุกข์ก็​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อมีบาปก็​ได้​ชื่อว่ามีทุกข์​ ​ถ้า​ไม่​รู้บาปก็ละบาป​ไม่​ได้​ ​ถ้า​ไม่​รู้จักบุญก็หาบุญ​ไม่​ได้​ ​เปรียบเหมือนเราอยาก​ได้​ทองคำ​แต่​เราหารู้​ไม่​ว่าทองคำ​นั้น​มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร​ ​ถึง​ทองคำ​นั้น​มี​อยู่​ ​แลเห็น​อยู่​เต็มตา​ ​ก็​ไม่​อาจถือเอา​ได้​โดย​เหตุที่​ไม่​รู้จัก​ ​แม้บุญก็​เหมือน​กัน​ ​ถ้า​ไม่​รู้จักบุญก็หาบุญ​ไม่​ได้​ ​อย่าว่า​แต่บุญ​ซึ่ง​เป็น​ของที่​ไม่​มีรูปร่างเลย​ ​แม้​แต่สิ่งของ​อื่นๆ​ ​ที่มีรูปร่าง​ ​ถ้า​หากว่า​เรา​ไม่​รู้จักก็ถือเอา​ไม่​ได้ฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลที่​ไม่​รู้จักบุญ​และ​ไม่​รู้จักสุข​ ​ทำ​บุญ​จะ​ไม่​ได้​บุญ​ไม่​ได้​สุขเสียเลย​ ​เช่น​นั้น​ ​ตถาคตก็หากล่าวปฏิ​เสธ​ไม่​ ​ทำ​บุญก็คง​ได้​บุญ​และ​ได้​สุข​อยู่​นั่นแล​ ​แต่ทว่าตัวเราหาก​ไม่​รู้​ไม่​เข้า​ใจ​ ​บุญ​และ​ความ​สุขก็บังเกิด​อยู่​ที่ตัวนั่นเอง​ ​แต่ตัวหาก​ไม่​รู้​ไม่​เข้า​ใจ​ ​จึง​เป็น​อันมีบุญ​และ​สุข​ไว้​เปล่าๆ​ ฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวกที่​ไม่​รู้จักว่าบุญคือ​ความ​สุข​ ​เมื่อทำ​บุญ​แล้ว​ปรารถนา​เอา​ความ​สุข​ ​น่าสมเพชเวทนานักหนา​ ​ทำ​ตัวบุญก็​ได้​บุญ​ใน​ทัน​ใด​นั้น​เอง​ ​มิ​ใช่​ว่า​เมื่อทำ​แล้ว​นานๆ​ ​จึง​จัก​ได้​ ​ทำ​เวลา​ใด​ก็​ได้​เวลา​นั้น​แต่ตัว​ไม่​รู้​ ​นั่งทับนอนทับบุญ​อยู่​เปล่าๆ​ ​ตัวก็​ไม่​ได้​รับบุญคือ​ความ​สุข​เพราะ​ตัว​ไม่​รู้​ ​จึง​ว่า​เสียทีที่​เกิดมา​เป็น​มนุษย์พบพระพุทธศาสนา​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ด้วย​ประการฉะนี้ฯ

​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า​ ​อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์​ ​บุคคลที่​เข้า​ใจว่าทำ​บุญ​ไว้​มากๆ​ ​แล้ว​จะ​รู้​และ​ไม่​รู้ก็​ไม่​เป็น​ไร​ ​บุญจักพา​ไป​ให้​ได้​รับ​ความ​สุขเอง​ ​เช่นนี้ชื่อว่า​เป็น​คนหลง​โดย​แท้​ ​เพราะ​เหตุ​ไรบุญจักพาตัวไป​ให้​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​เพราะ​บุญ​กับ​ความ​สุข​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อ​ไม่​รู้สุขก็คือ​ไม่​รู้จักบุญ​ ​เมื่อเรารู้สุขเห็นสุข​ ​ก็คือเรารู้บุญเห็นบุญนั่นเอง​ ​จะ​ให้​ใครพา​ไปหา​ใครที่​ไหนฯ

ดูกรอานนท์ ​สุขทุกข์นี้​ใครจัก​ช่วย​ใคร​ไม่​ได้​ ​ใคร​จะ​พา​ใครไปนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​นั้น​ไม่​ได้​ ​จะ​ไปนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​ต้อง​ไป​ด้วย​ตนเอง​ ​จะ​พา​เอาคน​อื่น​ไป​ด้วย​ไม่​ได้​เป็น​อันขาด​ ​ก็​แล​ผู้​ใด​อยากพ้นนรกสุก​ใน​เมืองผี​ ​ก็จงทำ​ตน​ให้​พ้น​จาก​นรกดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​เสียก่อน​ ​จึง​จะ​พ้น​จาก​นรกสุก​ใน​เมืองผี​ได้​ ​ถ้า​อยาก​ได้​ความ​สุข​ใน​ภายหน้า​ ​ก็จงทำ​ตน​ให้​ถึง​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​เสียก่อน​ ​ถ้า​ไม่​ได้​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนนี้​ ​แม้​เมื่อตายไป​แล้ว​ ​ก็​ไม่​อาจ​ได้​สวรรค์สุกเลย​ ​ถ้า​ไม่​ได้​สวรรค์ดิบ​ไว้​ก่อน​แล้ว​ ​ตายไปก็มีนรก​เป็น​ที่​อยู่​โดย​แท้​ ​แม้​ความ​สุข​ใน​สวรรค์ก็​ยัง​ไม่​ปราศ​จาก​ทุกข์​ ​มิ​ใช่​ทุกข์​แต่​ใน​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรา​เท่า​นั้น​ก็หามิ​ได้​ ​ถึง​สวรรค์สุก​ใน​ชั้นฟ้า​ใดๆ​ ​ก็ดี​ ​สุข​กับ​ทุกข์มี​อยู่​เสมอ​กัน​ ​เป็น​ความ​สุขที่​ยัง​ไม่​ปราศ​จาก​ทุกข์​ ​ไม่​เหมือนพระนิพพาน​ซึ่ง​เป็น​เอ​กัน​ต​ ​บรมสุข​ ​มี​แต่สุข​โดย​ส่วน​เดียว​ ​ไม่​ได้​เจือปน​ด้วย​ทุกข์​เลยฯ

ดูกรอานนท์ ​อันว่าสวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​ ​ก็คือ​ได้​เป็น​เจ้า​เป็น​ใหญ่​ใน​สมบัติข้าวของ​ ​และ​เกียรติยศ​ ​และ​บริวารยศ​ ​และ​นามยศ​ ​เมื่อบุคคล​ผู้​ใด​ได้​เป็น​เจ้า​เป็น​ใหญ่​เช่น​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​ผู้​ได้​เสวยสุข​ใน​สวรรค์ดิบ​ผู้​ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​ภายภาคหน้า​ ​ก็จง​ให้​ได้​รับ​ความ​สุขแต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​อย่า​เห็น​ความ​ลำ​บากยาก​แค้น​ ​ใน​สวรรค์ชั้น​ใดๆ​ ​จะ​เป็น​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคน​ ​หรือ​สวรรค์สุก​ใน​เมืองฟ้าทุกชั้น​ ​ย่อมเจือปน​อยู่​ด้วย​ความ​ทุกข์​ทั้ง​นั้น​ ​ไม่​แปลกต่าง​กัน​ ​และ​ไม่​มาก​ไม่​น้อยกว่า​กัน​ ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์ก็หาก​เป็น​ความ​สุขจริง​ ​จะ​ว่า​ไม่​สุข​นั้น​ก็​ไม่​ได้​ ​แต่ว่า​เป็น​สุขที่​เจือ​อยู่​ด้วย​ทุกข์​ ​แม้​ถึง​กระ​นั้น​ก็คงดีกว่าตก​อยู่​ใน​นรก​โดย​แท้ฯ

ดูกรอานนท์ ​สวรรค์ดิบ​ใน​ชาตินี้​กับ​สวรรค์สุก​ใน​ชาติหน้า​ ​อย่าสงสัยว่า​จะ​ต่าง​กัน​ ​ถึง​จะ​ต่างบ้างก็​เพียง​เล็ก​น้อย​ ​เมื่อ​ต้อง​การ​ความ​สุขเพียง​ใด​ก็จงพากเพียร​ให้​ได้​แต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ใน​เมืองคนนี้​ ​จะ​นั่ง​จะ​นอนคอย​ให้​สุขมาหา​นั้น​ไม่​ได้​ ​ไม่​เหมือนพระนิพพาน​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​นั้น​ไม่​ต้อง​ขวนขวาย​ ​เมื่อจับถูกที่​แล้ว​ ​นั่งสุขนอนสุข​ได้​ที​เดียว​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพานว่า​จะ​ยากก็​เหมือนง่าย​ ​ว่า​จะ​ง่ายก็​เหมือนยาก​ ​ที่ว่ายาก​นั้น​ ​ยาก​เพราะ​ไม่​รู้​ ​ไม่​เห็น​ ​พาลปุถุชนคนตามืด​ทั้ง​หลาย​ ​รู้​ไม่​ถูกที่​ ​เห็น​ไม่​ถูกที่​ ​จับ​ไม่​ถูกที่​ ​จึง​ต้อง​พากเพียรพยายามหลายอย่างหลายประการ​ ​และ​เป็น​การเปล่า​จาก​ประ​โยชน์​ด้วย​ ​ส่วน​ท่านที่มีปัญญาพิจารณาถูกที่​ ​จับถูกที่​แล้ว​ ​ก็​ไม่​ต้อง​ทำ​อะ​ไร​ให้​ยากหลายสิ่งหลายอย่าง​ ​นั่งๆ​ ​นอนๆ​ ​อยู่​เปล่าๆ​ ​เท่า​นั้น​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพานก็มาบังเกิดขึ้นแก่ท่าน​ได้​เสมอ​ ​เพราะ​เหตุฉะ​นั้น​ ​จึง​ว่า​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​ไม่​เป็น​สุขที่​เจือปนไป​ด้วย​ทุกข์ฯ

ดูกรอานนท์ ​เมื่ออยากรู้ว่า​เรา​จะ​ได้​รับ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์​ ​หรือ​จะ​ได้​รับ​ความ​ทุกข์​ใน​นรก​ ​ก็จงสังเกตดู​ใจของเรา​ใน​เวลาที่​ยัง​ไม่​ตายนี้​ ​ใจของเรามีสุขมาก​หรือ​มีทุกข์มาก​ ​ทุกข์​เป็น​ส่วน​นรกดิบ​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็​ต้อง​ไปตกนรกสุก​ ​สุข​เป็น​ส่วน​สวรรค์ดิบ​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็​ได้​ขึ้นสวรรค์สุก​ ​เมื่อ​ยัง​เป็น​คน​อยู่​ ​มีสุข​หรือ​ทุกข์มาก​เท่า​ใด​ ​แม้​เมื่อตายไปก็คงมีสุข​และ​มีทุกข์มาก​เท่า​นั้น​ ​ไม่​มีพิ​เศษกว่า​กัน​ ​บุคคล​ผู้​ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​ภพนี้​และ​ใน​ภพหน้า​แล้ว​ ​จงรักษา​ใน​ให้​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​ส่วน​ตัวตนร่างกายข้างนอก​นั้น​ไม่​สำ​คัญ​ ​จัก​ได้​รับ​ความ​สุข​และ​ความ​ทุกข์ประการ​ใด​ก็ช่างเถิด​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็ทิ้ง​อยู่​เหนือแผ่นดินหาประ​โยชน์มิ​ได้​ ​ส่วน​ใจ​นั้น​เป็น​ของติดตามตนไป​ใน​อนาคตเบื้องหน้า​ได้​ ​เพราะ​จิตใจ​เป็น​ของ​ไม่​ตาย​ ​ที่ว่าตาย​นั้น​ ​ตายแต่รูปร่างกายธาตุ​แตกขันธ์ดับ​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​จิตใจตาย​แล้ว​ก็​ไม่​ต้อง​เกิด​ไม่​ต้อง​ตายต่อไปอีกกล่าวคือ​ถึง​พระนิพพานฯ

ดูกรอานนท์ ​ใน​อดีตชาติ​ ​เราตถาคตก็​ได้​หลงท่องเที่ยว​อยู่​ใน​สังสารวัฏนี้ช้านาน​ ​นับ​ด้วย​ร้อย​ด้วย​พันแห่งชาติ​เป็น​อันมาก​ ​ทำ​บุญทำ​กุศลก็ปรารถนา​แต่​จะ​ให้​พ้นทุกข์​ ​ให้​เสวยสุข​ใน​เบื้องหน้า​ ​เข้า​ใจว่าตาย​แล้ว​จึง​จะ​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​ครั้นเมื่อตายจริงก็ตายแจ่ธาตุ​แต่ขันธ์​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ใจ​นั้น​ไม่​ตาย​จึง​ต้อง​ไปเกิดอีก​ ​เมื่อไปเกิดอีกก็​ต้อง​ตายอีก​ ​เมื่อเห็นเช่นนี้​จะ​พ้นทุกข์​ได้​อย่างไร​ ​ที่นิยม​กัน​ว่าตาย​ ​ก็คือตายเน่าตายเหม็น​อยู่​อย่างทุกวันนี้​ ​ชื่อว่าตายเล่น​ ​ตาย​ไม่​แท้​ ​ตาย​แล้ว​เกิด​ ​เกิด​แล้ว​ตาย​ ​หาต้นหาปลายมิ​ได้​ ​ที่ตายแท้ตายจริงคือตาย​ทั้ง​รูปแตกขันธ์ดับ​ ​ตาย​ทั้ง​จิตใจ​ ​มี​แต่พระพุทธเจ้า​กับ​เหล่าพระอรหันตขีณาสพ​เท่า​นั้น​ ​ท่านเหล่านี้​ไม่​ต้อง​กลับมา​เกิดอีกฯ

ดูกรอานนท์ ​ใน​อดีตชาติ​เมื่อเรา​ยัง​ไม่​รู้​ ​เข้า​ใจว่าตาย​แล้ว​จึง​จะ​พ้นทุกข์​ ​ทำ​บุญก็มุ่งแต่​เอา​ความ​สุข​ใน​เบื้องหน้า​ ​ครั้นตายไปก็หา​ได้​พ้จ​จาก​ทุกข์ตาม​ความ​ประสงค์​ไม่​ ​มาปัจฉิมชาตินี้​เรา​จึง​รู้ว่า​ ​สวรรค์​และ​พระนิพพานมี​อยู่​ที่ตัวเรานี้​เอง​ ​เรา​จึง​ได้​รับเร่งปฏิบัติ​ให้​ได้​ให้​ถึง​แต่​เมื่อ​ยัง​เป็น​คน​อยู่​ ​จึง​พ้น​จาก​ทุกข์​และ​ได้​เสวยสุขอันปราศ​จาก​อามิส​ ​เป็น​พระบรมครูสั่งสอนเวไนยสัตว์​อยู่​ทุกวันนี้​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้​แลฯ

ตทนนฺตรํ ​ลำ​ดับ​นั้น​ ​พระพุทธเจ้า​จึง​ตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า​ ​อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์​ ​ความ​ทุกข์​ใน​นรก​และ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​นั้น​ใคร​จะ​ช่วย​ใคร​ไม่​ได้​ ​เมื่อใครชอบอย่าง​ใด​ก็ทำ​อย่าง​นั้น​ ​แม้​เราตถาคตก็​ช่วย​ใคร​ให้​พ้นทุกข์​ ​และ​ช่วย​ใคร​ให้​ได้​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​ไม่​ได้​ ​ได้​แต่​เพียงสั่งสอยชี้​แจง​ให้​รู้สุขรู้ทุกข์​ ​ให้​รู้สวรรค์​ ​ให้​รู้พระนิพพาน​ด้วย​วาจา​เท่า​นั้น​ ​อันกองทุกข์​โทษบาปกรรมทั้วปวง​นั้น​ ​ก็คือตัวกิ​เลสตัณหา​ ​ครั้นดับกิ​เลสตัณหา​ได้​แล้ว​ก็​ไม่​ต้อง​ตกนรก​ ​ถ้า​ดับกิ​เลสตัณหา​ได้​มาก​ ​ก็ขึ้นไปเสวยสุข​อยู่​ใน​สวรรค์​ ​ถ้า​ดับกิ​เลสตัณหา​ได้​สิ้นเชิงหา​เศษมิ​ได้​แล้ว​ ​ก็​ได้​เสวยสุข​ใน​พระนิพพานที​เดียว

​เราตถาคตบอก​ให้​รู้​แต่ทางไป​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​ผู้​รู้ทางแห่ง​ความ​สุข​ ​แล้ว​ประพฤติปฏิบัติตาม​ได้​ ​ก็ประสบสุขสมประสงค์​ ​อย่าว่า​แต่​เราตถาคตเลย​ ​แม้พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายที่ล่วงไป​แล้ว​นับ​ไม่​ถ้วนก็ดี​ ​และ​จักมาตรัสรู้​ใน​กาลภายหลังก็ดี​ ​จักมา​ช่วย​พา​เอาสัตว์​ทั้ง​หลายไป​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​แล้ว​ให้​ได้​เสวยสุขเช่น​นั้น​ไม่​มี​ ​มี​แต่มาสั่งสอน​ให้​รู้สุขรู้ทุกข์​ ​รู้สวรรค์​และ​พระนิพพานอย่างเดียว​กับ​เราตถาคตนี้​ ​พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายก็ทรง​ไว้​ซึ่ง​ทศพลญาณ​ ​มีอาการเหมือนอย่างเราตถาคตนี้ทุกๆ​ ​พระองค์​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​เข้า​ใจว่าพระพุทธเจ้าต่าง​กัน​ด้วย​ศีล​ ​ด้วย​ฌาณ​ ​ด้วย​อิทธิ​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​คนหลง​ ​ผู้​ที่​ได้​ยามว่าพระพุทธเจ้า​นั้น​ ​ต้อง​มีทศพลญาณสำ​หรับขับขี่​เข้า​สู่พระนิพพาน​ด้วย​กัน​ทุกพระองค์​ ​จะ​ได้​เป็น​พระพุทธเจ้า​แต่​เราองค์​เดียว​นั้น​หามิ​ได้​ ​ผู้​ใด​มีทศพลญาณ​ ​ผู้​นั้น​ได้​ชื่ว่า​เป็น​พระพุทธเจ้า​ด้วย​กัน​ทุกพระองค์​ ​ไม่​ควร​จะ​มี​ความ​สงสัย​ ​ฌาน​ ๑๐ ​ประการ​นั้น​เป็น​เครื่องหมายของพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​ไม่​มีญาณ​ ๑๐ ​ประการ​แล้ว​ ​จะ​รู้ดีมีอิทธิดำ​ดินบินบน​ได้​อย่างไรก็ตาม​ ​ก็​ไม่​เรียกว่าพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​มีญาณ​ ๑๐ ​ประการ​แล้ว​ ​จะ​ไม่​มีอิทธาศักดานุภาพอย่างไรก็ตาม​ ​ก็​ให้​เรียกท่าน​ผู้​นั้น​ว่าพระพุทธเจ้า​ ​เพราะ​ทศพลญาณ​ ๑๐ ​ประการ​เป็น​เครื่องหมายของพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​ไม่​มี​เครื่องหมายนี้​ ​ผู้​ใด​มีฤทธิ์มี​เดชขึ้น​ ​ก็จักตั้งตัว​เป็น​พระพุทธเจ้า​เต็มบ้านเต็มเมือง​ ​ก็​เห็นทางแห่ง​ความ​เสียหายวายโลก​เท่า​นั้นฯ

ดูกรอานนท์ ​ทศพลญาณ​ ๑๐ ​ประการ​นั้น​ ​เป็น​ของสำ​คัญ​อยู่​สำ​หรับโลก​ ​ไม่​มี​ผู้​ใด​แต่งตั้งขึ้น​ ​เป็น​แต่​เราตถาคต​เป็น​ผู้​รู้​ผู้​เห็นก่อน​ ​แล้ว​ยกออกตี​แผ่​ให้​โลกเห็น​ ​พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายบำ​เพ็ญ​ ๑๐ ​ประการ​ได้​แล้ว​ ​ก็ขับขี่​เข้า​สู่พระนิพพาน​ ​เมื่อ​ถึง​พระนิพพาน​แล้ว​ ​ก็ปล่อยวางญาณ​นั้น​ไว้​ให้​แก่​โลกตามเติม​ ​หา​ได้​เอาตัวตนจิตใจ​เข้า​สู่พระนิพพาน​ด้วย​ไม่​ ​เอาจิตใจไป​ได้​เพียงนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พรหมโลก​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​พระนิพพาน​นั้น​ ​ถ้า​ดับจิตใจ​ไม่​ได้​แล้ว​ก็​ไป​ไม่​ได้​ ​ถ้า​เข้า​ใจว่าจักเอาจิตใจไป​เป็น​สุข​ใน​พระนิพพาน​แล้ว​ ​ต้อง​หลงขึ้นไป​เป็น​อรูปพรหม​เป็น​แน่ฯ​

ดูกรอานนท์ ​การตกนรก​และ​ขึ้นสวรรค์​ ​จะ​เอาตัวไป​ไม่​ได้​ ​เอา​แต่จิตไป​ ​จิต​นั้น​มครจับ​ต้อง​รูปคลำ​ไม่​ได้​ ​เป็น​แต่ลม​เท่า​นั้น​ ​เพราะ​จิต​เป็น​ของละ​เอียด​ ​ใคร​จะ​จับถือ​ไม่​ได้​ ​เมื่อจิตไปตกนรก​ ​ใคร​จะ​ไป​ช่วย​ยกขึ้น​ได้​ ​ถ้า​จิต​นั้น​เป็น​ตัว​เป็น​ตนก็พอ​จะ​ช่วย​กัน​ได้​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​คอยท่า​ให้​ผู้​อื่น​มา​ช่วย​ยกตัว​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​นำ​ตัวไป​ให้​ได้​เสวยสุข​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​คนโง่​เขลาหาปัญญามิ​ได้​ ​แต่​เราตถาคตรู้นรกสวรรค์ทุกข์สุข​อยู่​แล้ว​ ​และ​หาอุบายที่​จะ​พ้น​จาก​ทุกข์​ให้​ได้​เสวยสุข​ ​ก็​เป็น​การแสนยากแสนลำ​บาก​ ​จะ​ไปพาจิตใจของท่าน​ผู้​อื่น​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​อย่างไร​ ​ถึง​แม้พระพุทธเจ้าองค์ที่จักตรัสรู้​ใน​เบื้องหน้าก็​เหมือน​กัน​ ​มี​แต่​แนะนำ​สั่งสอน​ให้​รู้สุขทุกข์​ ​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​เท่า​นั้น

​ผู้​ที่​ต้อง​การ​จะ​สุขทุกข์อย่าง​ใด​นั้น​ ​แล้ว​แต่อัธยาศัย​ ​แต่ว่า​ต้อง​ศึกษา​ให้​รู้​แท้​แน่นอนแก่​ใจเสียก่อนว่า​ ​ทุกข์​ใน​นรก​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​สุข​ใน​สวรรค์​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​สุข​ใน​พระนิพพาน​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​เมื่อรู้​แล้ว​จึง​จัก​ยัง​มีทาง​ได้​ถึง​บ้างคงจัก​ไม่​ท่องเที่ยว​อยู่​ใน​วัฏสงสารเนิ่นนาน​เท่า​ไรนัก​ ​ถ้า​ไม่​รู้​แจ้งแต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​ก็​ไม่​อาจจักพ้น​ได้​เลย​ ​และ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​ผู้​เกิดมา​เสียชาติ​เป็น​มนุษย์​ ​เสีย​ความ​ปรารถนา​เดิม​ซึ่ง​หมายว่า​จะ​เป็น​ผู้​เกิดมา​เพื่อ​ความ​สุข​ ​ครั้นเกิดมา​แล้ว​ก็พลอย​ไม่​ให้​คน​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​ซ้ำ​ยัง​ตน​ให้​จม​อยู่​ใน​นรก​ ​ทำ​ให้​เสียสัตย์​ ​ความ​ปรารถนา​แห่งตน​ ​น่าสังเวชสลดใจยิ่งนัก​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้​แลฯ

อิ​โต​ ​ปรํ​ ​คิริมานนฺทสตฺตํ​ ​อนุสนฺธํ​ ​ฆเฏตฺวา​ ​ภาสิสฺ​ ​สามีติ​ ​เบื้องหน้า​แต่นี้​ ​จักแสดงคิริมานนทสูตรสืบต่อไปฯ​ ​มีคำ​พระอานนท์ปฏิญญาว่าดังนี้

ภนฺ​เต​ ​อริยกสฺสป​ ​ข้า​แต่พระอริยเจ้า​ทั้ง​หลาย​ ​มีพระมหากัสสปะ​เป็น​ประธาน​ ​ภควา​ ​อันว่าพระ​ผู้​มีพระภาคเจ้า​ ​เทเสสิ​ ​ก็ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​สืบต่อไปว่า​

อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์ ​อันว่า​ความ​ทุกข์​และ​ความ​สุข​นั้น​ ​ก็มี​อยู่​แต่​ใน​นรก​และ​สวรรค์​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​พระนิพพานมี​อยู่​นอกสวรรค์​และ​นรกต่างหาก​ ​บัดนี้จักแสดงทุกข์​และ​สุข​ใน​นรก​และ​สวรรค์​ให้​แจ้งก่อนฯ

​จิตใจของเรานี้​ ​เมื่อมีทุกข์​หรือ​สุข​แล้ว​ ​ใคร​จะ​สามารถ​ช่วย​ยกออก​จาก​จิตของเรา​ได้​ ​อย่าว่า​แต่ตัวเรา​เลย​ ​แม้ท่าน​ผู้​อื่น​เราก็​ไม่​สามารถ​จะ​ช่วย​ยกออก​ได้​ ​มีอาการเหมือน​กัน​ทุกรูปทุกนาม​ ​ทุกตัวตนสัคว์บุคคล

​อนึ่ง​ ​เมื่อท่านมีทุกข์​แล้ว​ ​จะ​นำ​ทุกข์ของท่านมา​ให้​เราก็​ไม่​ได้​ ​เรามีทุกข์​แล้ว​จะ​นำ​ทุกข์​ไป​ให้​ท่าน​ผู้​อื่น​ก็​ไม่​ได้​ ​แม้​ความ​สุขก็มีอาการเช่น​กัน​ ​สุข​และ​ทุกข์​ไมมี​ใคร​จะ​ช่วย​กัน​ได้​ ​สิ่งที่​จะ​ช่วย​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​มี​แต่อำ​นาจกุศลผลบุญ​ ​มีการ​ให้​ทาน​และ​รักษาศีล​เป็น​ต้น​เท่า​นั้น​ ​ที่​เป็น​ผู้​ช่วย​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​ ​มนุษย์​ ​เทวดา​ ​อินทร์​ ​พรหม​ ​และ​มครๆ​ ​จะ​มา​ช่วย​ให้​พ้นทุกข์​และ​ให้​ได้​เสวยสุข​นั้น​ไม่​ได้​ ​ที่สุดแม้​เราตถาคต​ผู้​ทรง​ไว้​ซึ่ง​ญาณเห็นปานนี้ก็​ไม่​อาจ​ช่วย​ใคร​ได้​ ​ได้​แต่​เป็น​ผู้​ช่วย​แนะนำ​ตักเตือน​ให้​รู้สุขทุกข์​และ​สวรรค์นรก​เท่า​นั้น​ ​ตัว​ต้อง​ยกตัวอย่าง​ ​ถ้า​รู้ว่านรก​และ​สวรรค์​อยู่​ที่ตัว​ ​แล้ว​ยกตัว​ให้​ขึ้นสวรรค์​ไม่​ได้​ ​ก็ชื่อว่า​เกิดมา​เสียชาติ​และ​เสียเวลาที่​เกิดมาพบพระพุทธศาสนา​ ​น่า​เสียกายชาติที่​ได้​เกิด​เป็น​รูปร่างกาย​ ​มีอวัยวะพรักพร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง​ ​ทั้ง​ได้​พบพระพุทธศาสนา​ด้วย​ ​สมควร​จะ​ได้​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​โดย​แท้​ ​เหตุ​ไฉน​จึง​เหยียบย่ำ​ตัวเอง​ให้​จม​อยู่​ใน​นรกเช่น​นั้น​ ​น่าสังเวชนักฯ

ดูกรอานนท์ ​สุขทุกข์​นั้น​ให้​หมายเอาที่จิต​ ​จิตสุข​เป็น​สวรรค์​ ​จิตทุกข์​เป็น​นรก​ ​จะ​เข้า​ใจว่านรก​และ​สวรรค์มี​อยู่​นอกจิตใจเช่น​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​คนหลง​ ​นรก​ ​และ​สวรรค์​ ​บาปบุญคุณโทษ​ ​ย่อมมี​อยู่​ใน​อก​ใน​ใจ​ทั้ง​สิ้น​ ​อยากพ้นทุกข์​ ​ก็​ให้​รักษาจิตใจ​จาก​สิ่งที่​เป็น​บาป​เป็น​ทุกข์​เสีย​ ​ถ้า​ต้อง​การสวรรค์ก็ทำ​งานที่หา​โทษมิ​ได้​ ​เพระการบุญการกุศล​นั้น​เมื่อทำ​ก็​ไม่​เดือดร้อน​ ​และ​เมื่อทำ​แล้ว​ระลึก​ถึง​ก็​ให้​เกิด​ความ​สุขสำ​ราญบานใจทุกเมื่อ​ ​เช่นนี้ชื่อว่า​เรา​ได้​ขึ้สวรรค์​ ​และ​ถ้า​อยาก​ได้​สุข​ใน​พระนิพพาน​ ​ก็​ให้​วางเสีย​ซึ่ง​สุข​และ​ทุกข์​ ​คือวางจิตใจอย่าถือว่า​เป็น​ของของตน​ ​ก็ชื่อว่า​ได้​ถึง​พระนิพพาน​ ​เพราะ​ว่า​ใจ​เป็น​ใหญ่​ ​เป็น​ประธาน​ ​สุขทุกข์​ทั้ง​สวรรค์​และ​พระนิพพานสำ​เร็จ​แล้ว​ด้วย​ใจ​ ​คือว่ามี​อยู่​ที่จิตที่​ใจของเรา​ทั้ง​สิ้น​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ไม่​รู้ว่าของเหล่านี้มี​ใน​ตน​ ​แล้ว​ไปเที่ยว​ค้น​คว้าหา​ใน​ที่​อื่น​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​ชื่อว่า​เป็น​คนหลงคนเมา​ ​เป็น​ผู้​หนา​อยู่​ด้วย​กิ​เลสตัณหา​ ​มือมน​อยู่​ด้วย​มลทินแห่งนรกฯ

ดูกรอานนท์ ​สัตว์ที่ตก​อยู่​ใน​นรกมากมายนับมิ​ได้​ ​แน่นอัดยัดเยียด​กัน​อยู่​ใน​นรก​ ​ดังข้าวสาร​หรือ​เมล็ดถั่วเมล็ดงา​ใน​กระสอบ​ ​แต่ก็​ไม่​เห็นดัน​ได้​ด้วย​เขา​ไม่​รู้​ไม่​เห็น​ซึ่ง​นรก​ ​ไม่​รู้สุขทุกข์บาปบุญคุณโทษ​ ​ไม่​รู้ว่าจิตของตน​เป็น​ทุกข์​เป็น​สุข​ ​มี​แต่มัวเมา​อยู่​ด้วย​ตัณหากามาราคาทิกิ​เลส​ ​จึง​ชื่อว่าตก​อยู่​ใน​นรก​ ​ยัดเยียด​กัน​ดังข้าวสาร​หรือ​เมล็ดถั่วเมล็ดงา​ใน​กระสอบ​ ​ร้องเรียกหา​กัน​ไม่​เห็น​กัน​ ​คือ​ไม่​เห็นทุกข์​ไม่​เห็นสุขแห่ง​กัน​และ​กัน​เท่า​นั้น​เองฯ

ดูกรอานนท์ ​จิตใจ​นั้น​ ​ใครก็​ไม่​แลเห็นของ​กัน​และ​กัน​ได้​ ​ผู้​ที่รู้​เห็นจิตใจของ​ผู้​อื่น​ได้​นั้น​ ​มี​แต่พระพุทธเจ้า​และ​พระอรหันต์​เท่า​นั้น​ ​พระพุทธเจ้าที่​จะ​รู้​เห็นจิตใจของ​ผู้​อื่น​ได้​ ​ก็​ด้วย​ญาณแห่งพระอรหันต์​ ​ถ้า​ละกิ​เลสตัวร้ายมิ​ได้​ ​คุณ​ความ​เป็น​แห่งพระอรหันต์ก็​ไม่​มาตั้ง​อยู่​ใน​สันดาน​ ​จึง​ไม่​อาจหยั่งรู้วาระจิตของสัตว์​ทั้ง​ปวง​ได้​ ​แม้พระตถาคต​จะ​หยั่งรู้วาระของสัตว์​ทั้ง​ปวง​ได้​ ​ก็​เพราะ​ปราศ​จาก​กิ​เลส​ ​คือ​ความ​เป็น​ไปแห่งพระอรหันต์​ ​บุคคล​ผู้​ที่​ไม่​พ้นกิ​เลส​ ​คือ​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​ ​แล​จะ​มาปฏิญาณว่ารู้​เห็นจิตแห่งบุคคล​อื่น​ ​จะ​ควรเชื่อฟัง​ได้​ด้วย​เหตุ​ใด​ ​ถึง​แม้​จะ​รู้​ได้​ด้วย​วิชาคุณอย่าง​อื่น​ ​รู้​ด้วย​สมาธิคุณ​เป็น​ต้น​ ​ก็รู้​ไป​ไม่​ถึง​ไหน​ ​แม้​จะ​รู้ก็รู้ผิดๆ​ ​ถูกๆ​ ​ไปอย่าง​นั้น​ ​จะ​รู้จริงแจ้งชัดดังที่รู้​ด้วย​อรหันต์คุณ​นั้น​ไม่​ได้

ถ้า​บุคคลที่​ยัง​ไม่​พ้นกิ​เลส​ ​มี​ความ​รู้ดียิ่งกว่า​เราตถาคต​ผู้​เป็น​พระอรหันต์​แล้ว​ ​การที่​เราตถาคตสละบุตรภรรยาทรัพย์สมบัติ​ ​อัน​เป็น​เครื่องเจริญแห่ง​ความ​สุขออกบวชนี้​ ​ก็ชื่อว่า​เป็น​ผู้​ที่​โง่​เขลากว่าบุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​เพราะ​เขา​ยัง​จม​อยู่​ใน​กิ​เลส​ ​แต่มี​ความ​รู้ดียิ่งกว่าพระพุทธเจ้า​ผู้​เป็น​พระอรหันต์​ ​ผู้​ไกล​จาก​กิ​เลส​ ​ข้อที่ละกิ​เลส​ไม่​ได้​ ​คือ​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​แล้ว​จะ​มีปัญญารู้จิตใจแห่งสัตว์​ทั้ง​หลายยิ่งกว่าพระพืธเจ้า​หรือ​พระอรหันต์​หรือ​จะ​มีปัญญารู้​เสมอ​กัน​นั้น​ไม่​มี​เลย​ ​ผู้​ที่​ยัง​ละกิ​เลส​ไม่​ได้​ ​คือ​ยัง​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​ ​มากล่าว​ ​ว่าตนรู้​เห็นจิตใจของสัตว์​ทั้ง​หลาย​นั้น​ ​กล่าวอวดเปล่าๆ​ ​ความ​รู้​เพียง​นั้น​ยัง​พ้นนรก​ไม่​ได้​ ​ไม่​ควร​จะ​เชื่อถือ​ ​ถ้า​ใครเชื่อถือก็ชื่อว่า​เป็น​คนนอกพระศาสนา​ ​ไม่​ใช่​ลูกศิษย์ของเราตถาคต​ ​แท้ที่จริงหากเอาศาสนธรรมอันวิ​เศษของเรานี้​ ​บังหน้า​ไว้​สำ​หรับหลอกลวงโลก​เท่า​นั้น​ ​บุคคลจำ​พวกนี้​ ​แม้​จะ​ทำ​บุญกุศล​เท่า​ไรก็​ไม่​พ้นนรก​ ​แม้​ผู้​ที่มา​เชื่อถือบุคคลจำ​พวกนี้​ ​ก็มีทุคติ​เป็น​ที่​ไป​ใน​เบื้องหน้า​เหมือน​กันฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวกที่อวดรู้อวดดีอย่างนี้​แหละ​ ​จะ​เป็น​ผู้​เบียดเบียนศาสนาของเรา​ให้​เศร้าหมองเสื่อมทรามลงไป​ ​เมื่อ​เขา​เกิดมา​แล้ว​ก็​จะ​มา​เบียดเบียนพระมหา​เถระ​และ​สามเณรน้อย​ ​ด้วย​ถ้อยคำ​อัน​ไม่​เจริญใจ​ ​ผู้​มีปัญญาน้อย​ ​ใจเบา​ ​ก็​จะ​พา​กัน​แตกตื่นสึกหาลา​เพศออก​จาก​ศาสนา​ ​พระศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไปฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ ​หากเบียดเบียนเสียดสีหมิ่นประมาทใจพระสังฆเถระ​และ​ภิกษุสามเณร​ ​ที่​เป็น​ศิษย์ของพระตถาคต​ ​โดย​ที่ท่าน​ทั้ง​หลาย​นั้น​มี​โทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​ ​และ​บังคับ​ให้​สึกออก​จาก​เพศพรหมจรรย์​ ​หรือ​กระทำ​ปัพพาชนียกรรมไปเสียก็ดี​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​บาปยิ่งนัก​ ​ไม่​อาจพ้นนรก​ได้​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ ​มี​ความ​เชื่อ​ความ​เลื่อมใส​ใน​คุณธรรมคำ​สั่งสอนของเราตถาคต​ ​แล้ว​เชิดชูยกย่อง​ไว้​ให้​ดี​ ​มิ​ได้​ดูถูกดูหมิ่นบุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​ก็​จะ​มี​ความ​เจริญ​ด้วย​ความ​สุข​ทั้ง​ใน​โลกนี้​และ​โลกหน้า​ ​แม้ปรารถนาสุจอัน​ใด​ซึ่ง​ไม่​เหลือวิสัย​ ​ก็อาจสำ​เร็จสุขอัน​นั้น​ได้​ตามปรารถนา​ ​บุคคลที่ทำ​ลายพระพุทธรูป​ ​พระสถูป​ ​พระ​เจดีย์​ ​และ​ตัดไม้ศรีมหา​โพธิ์​ ​หรือ​บุคคลจำ​พวกที่กล่าวหมิ่นประมาทเย้ยหยัน​ ​แก่สานุศิษย์ของเราตถาคตที่มี​โทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​ ​บุคคลจำ​พวกนี้มี​โทษหนักยิ่งกว่าจำ​พวดที่ทำ​ลายประพุทธรูป​ ​และ​พระสถูปพระ​เจดีย์​นั้น​หลาย​เท่า​ ​บุคคลที่ทำ​ลายพระพุทธรูป​เป็น​ต้น​นั้น​ ​เป็น​บาปมากก็จริง​อยู่​ ​แต่​ยัง​ไม่​นับว่า​เป็น​การทำ​ลายพระพุทธศาสนา​ ​ผู้​ที่กล่าวหมิ่นประมาท​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่าทำ​ลายศาสนาของพระตถาคต​ ​เพราะ​ว่า​ผู้​ที่มี​ความ​ผิดโทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​นั้น​ ​ยัง​นับว่า​เป็น​ลูกศิษย์ของเราตถาคต​อยู่​ ​ต่อเมื่อ​เป็น​ปาราชิก​แล้ว​จึง​ขาด​จาก​ความ​เป็น​ลูกศิษย์ของเรา​ ​ถ้า​เป็น​โทษเช่น​นั้น​ ​แม้​จะ​ลงโทษ​หรือ​กระทำ​ปัพพาชนียกรรม​ ​ก็หา​โทษมิ​ได้​ ​และ​ได้​ชื่อว่า​ช่วย​พระศาสนาของเรา​ด้วย

​การทำ​ลายพระพุทธรูป​หรือ​พระสถูปเจดีย์​นั้น​ ​ยัง​มีทางกุศล​ได้​อยู่​ดังพระพุทธรูป​ไม่​ดี​ไม่​งาม​แล้ว​ทำ​ลายเสีย​ ​แก้​ไข​ให้​งาม​ให้​ดีขึ้น​ ​แม้พระ​เจดีย์​หรือ​ไม้ศรีมหา​โพธิ์ก็​เช่น​กัน​ ​ต้นโพธิ์ที่ตั้ง​อยู่​ใน​ที่​ไม่​สมควร​ ​เช่นตั้ง​อยู่​ใน​ที่​ใกล้​ถาวรวัตถุ​ ​อาจทำ​ลายถาวรวัตถุ​นั้น​ได้​ ​จะ​ตัดเสียก็หา​โทษมิ​ได้​ ​ถ้า​ทำ​ลายเพื่อหาประ​โยชน์​แก่ตน​ ​หรือ​ทำ​ลาย​โดย​ความ​อิจฉาริษยา​เช่น​นั้น​ ​ย่อม​เป็น​บาป​เป็น​กรรม​โดย​แท้​ ​แม้​ถึง​อย่า​นั้น​ก็​ยัง​ไม่​ชื่อว่า​เป็น​การทำ​ลายศาสนา​ ​พวกที่หมิ่นประมาท​ ​ทำ​ให้​สงฆ์ที่มี​โทษ​ยัง​ไม่​ถึง​อันติมะ​ ​ให้​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน​ถึง​แก่​เสื่อม​จาก​พรหมจรรย์​ ​ได้​ชื่อว่าทำ​ลายพระพุทธศาสนา​โดย​แท้​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ ​พระพุทธเจ้า​ได้​ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้ฯ
แล้ว​จึง​ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​สืบต่อไปอีกว่า

อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์ ​บุคคลที่ปรารถนา​ซึ่ง​สวรรค์​และ​พระนิพพานก็จงรีบพากเพียรกระทำ​ให้​ได้​ให้​ถึง​แต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​เพราะ​มี​อยู่​ที่​ใจของเราทุกอย่าง​ ​จะ​เป็น​การลำ​บากมาก​อยู่​ก็​แต่พระนิพพาน​ ​ผู้​ที่ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​ ​จงทำ​ตัว​ให้​เหมือนแผ่นดิน​หรือ​เหมือนดังคนตาย​แล้ว​คือ​ให้​ปล่อย​ความ​สุข​และ​ความ​ทุกข์​เสีย​ ​ข้อสำ​คัญก็คือ​ ​ให้​ดับกิ​เลส​ ๑,๕๐๐ ​นั้น​เสีย

กิ​เลส​ ๑,๕๐๐ ​นั้น​ ​เมื่อย่นลง​ให้​สั้น​แล้ว​ก็​เหลือ​อยู่​แค่​ ๕ ​เท่า​นั้น​ ​คือ​ ​โลภะ​ ๑ ​โทสะ​ ๑ ​โมหะ​ ๑ ​มานะ​ ๑ ​ทิฎฐิ​ ๑

โลภะ​ ​นั้น​คือ​ความ​ทะ​เยอทะยานมุ่งหวังอยาก​ได้​กิ​เลสกาม​ ​คือรูป​ ​เสียง​ ​กลิ่น​ ​รส​ ​โผฏฐัพพะ​ ๑ ​อยาก​ได้​วัตถุกาม​ ​คือสมบัติข้าวของ​ซึ่ง​มีวิญญาณ​และ​หาวิญญาณมิ​ได้​ ๑ ​เหล่านี้ชื่อว่า​ ​โลภะ

โทสะ​ ​นั้น​ได้​แก่​ ​ความ​เคือง​แค้น​ประทุษร้ายเบียดเบียนท่าน​ผู้​อื่น​ ​เหล่านี้ชื่อว่า​ ​โทสะ

โมหะ​ ​นั้น​คือ​ความ​หลง​ ​มีหลงรัก​ ​หลงชัง​ ​หลงลาภ​ ​หลงยศ​ ​เป็น​ต้น​ ​เหล่านี้ชื่อว่า​โมหะ

มานะ​ ​นั้น​คือ​ความ​ถือตัวถือตน​ ​ดูถูกดูหมิ่นท่าน​ผู้​อื่น​ ​ชื่อว่ามานะ

ทิฏฐิ​ ​นั้น​คือ​ความ​ถือมั่น​ใน​ลัทธิอันผิด​ ​เห็น​เป็น​อุจเฉททิฏฐิ​และ​สัสสคทิฏฐิ​ ​ปล่อยวาง​ความ​เห็นผิด​ไม่​ได้​ ​ชื่อว่า​ ​ทิฏฐิ

ถ้า​ดับกิ​เลส​ทั้ง​ ๕ ​นี้​ได้​แล้ว​ ​ก็ชื่อว่าดับกิ​เลส​ได้​ทั้ง​สิ้น​ ๑,๕๐๐ ​ถ้า​ดับกิ​เลส​ทั้ง​ ๕ ​นี้​ไม่​ได้​ ​ก็ชื่อว่าดับกิ​เลส​ไม่​ได้​เลยฯ

ดูกรอานนท์ ​ปุถุชนคนหนา​ทั้ง​หลานที่ปรารถนาพระนิพพาน​ได้​ด้วย​ยาก​นั้น​ ​ก็​เพราะ​เหตุที่​ไม่​รู้จักดับกิ​เลสตัณหา​ ​เข้า​ใจเสียว่าทำ​บุญทำ​กุศล​ให้​มาก​แล้ว​ ​บุญกุศล​นั้น​จักเลื่อนลอยมา​จาก​อากาศเวหา​ ​นำ​ตัวขึ้นไปสู่พระนิพพาน​ ​ส่วน​ว่าพระนิพพาน​นั้น​ ​จะ​อยู่​แห่งหนตำ​บล​ใด​ก็หารู้​ไม่​ ​แต่คาดคะ​เนเอาอย่าง​นั้น​ ​จึง​ได้​พระนิพพาน​ด้วย​ยาก​ ​แท้ที่จริงพระนิพพาน​นั้น​ไม่​มี​อยู่​ใน​ที่​อื่น​ไกล​เลย​ ​หากมี​อยู่​ที่จิตใจนั่นเอง​ ​ครั้นดับโลภะ​ ​โทสะ​ ​โมหะ​ ​มานะ​ ​ทิฏฐิ​ ​ได้​ขาด​แล้ว​ ​ก็​ถึง​พระนิพพาน​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​ไม่​รู้​และ​ดับกิ​เลสตัณหา​ยัง​ไม่​ได้​ ​เป็น​แต่ปรารถนาว่า​ ​ขอ​ให้​ได้​พระนิพพานดังนี้​ ​แม้สิ้นหมื่นชาติ​แสนชาติก็​ไม่​ได้​พบปะ​เลย​ ​เพราะ​กิ​เลสตัณหา​ทั้ง​หลายย่อมมี​อยู่​ที่ตัวตนของเรา​ทั้ง​สิ้น​ ​เมื่อตัว​ไม่​รู้จักระงับกิ​เลสตัณหาที่มี​อยู่​ให้​หมดไป​ ​ก็​ไม่​ได้​ไม่​ถึง​เท่า​นั้น​ ​จะ​คอยท่า​ให้​บุญกุศลมา​ช่วย​ระงับดับกิ​เลสของตัวเช่นนี้​ ​ไม่​ใช่​ฐานะที่​จะ​พึงคิด​ ​บุญกุศล​นั้น​ก็คือตัวเรานี้​เอง​ ​เรา​แล​จะ​เป็น​ผู้​ระงับดับกิ​เลส​ให้​สิ้นไปหมดไป​ ​จึง​จะ​สำ​เร็จ​ได้​ดังสมประสงค์ฯ

ดูกรอานนท์ ​ปุถุชนคนเขลา​ทั้ง​หลายที่​ได้​ที่​ถึง​พระนิพพาน​ด้วย​ยาก​นั้น​ ​เพราะ​เขา​ปรารถนา​เปล่าๆ​ ​จึง​ไม่​ได้​ไม่​ถึง​ ​เขา​ไม่​รู้ว่าพระนิพพาน​อยู่​ใน​ใจของ​เขา​ ​มี​แต่คิด​ใน​ใจว่า​ ​จะ​ไปเอา​ใน​ชาติหน้า​ ​หารู้​ไม่​ว่านรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพานมี​อยู่​ใน​ตน​ ​เหตุฉะ​นั้น​จึง​พา​กัน​ตกทุกข์​ได้​ยากลำ​บากยิ่งนัก​ ​พา​กัน​เวียนว่ายตายเกิด​อยู่​ใน​วัฏสงสารนี้​ ​ถือเอากำ​เนิด​ใน​ภพน้อยภพ​ใหญ่​อยู่​ไม่​มีที่สิ้นสุด​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ ​พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ด้วย​ประการฉะนี้ฯ

......................................................................................................................................

ขอขอบคุณที่มาบท​ความ​ : ​คิริมานนทสูตร​ ( ​อุบายรักษา​โรค​ )

No comments: