Tuesday, January 1, 2008

จูฬโสดาบัน

จูฬโสดาบัน​ ๑ ( ​กัลยาณปุถุชน​ผู้​แทงตลอดลำ​ดับแห่งนามรูปปริ​เฉทญาณ​ ​ที่​ ๑ ​ถึง
​ลำ​ดับโคตรภูญาณที่​ ๑๓ ​ตามสมควร)
มหา​โสดาบัน​ ๑ ( ​อริยบุคคล​ผู้​แทงตลอด​ใน​ลำ​ดับแห่งญาณ​ ๑๖ ​โดย​สมบูรณ์​ )

ใน​บรรดา​โสดาบันบุคคล​ทั้ง​ ๒ ​ประ​เภทนี้

๑. ​จูฬโสดาบันย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​ ๑ ​ชาติบ้าง​ ๒ ​ชาติบ้าง​ ๓ ​ชาติบ้าง​ ​ตามสมควรแก่
​กำ​ลังแห่งอินทรีย์​ ๕ ​ของแต่ละบุคคล
​กล่าวคือ
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสัทธินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​อย่างน้อย​ ๑ ​ชาติ​ ​เป็น​เบื้องต้น
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีวิริยินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สัทธิทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสตินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​วิริยินทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสมาธินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สตินทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีปัญญินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สมาธิทรีย์​ !

๒. ​มหา​โสดาบันย่อมปิดอบายภูมิ​ได้​โดย​เด็ดขาด​ ​กล่าวคือ​ ​ไม่​หวนกลับไปบังเกิด
​ใน​ ​อบาย​ ( ​เดรัจฉาน​ ) , ​ทุคติ​ ( ​เปรต​ ) , ​วินิบาต​ ( ​อสุรกาย​ ) , ​นิรยะ​ ( ​นรก​ )
​เหตุนี้​ ​มหา​โสดาบัน​จึง​ได้​นามว่า​ ​"​ผู้​ข้ามโคตร​แล้ว"​ ​เพราะ​ ​ย่อม​ไม่​หวนกลับไป
​สู่​ " ​เหฏฐิมสงสาร​ " ​อัน​เป็น​สงสารเบื้องต่ำ​ของภูมิปุถุชนอีกต่อไป

จาก​พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริ​เฉทที่​ ๑ ​อภิธรรมมูลนิธิ
พระ​โสดาบันจำ​แนก​ได้​ ๓ ​พวก

๑. ​เอกพิชี​โสดาบัน​ ​เป็น​พระ​โสดาบันที่มีพืชกำ​เนิดอีกเพียงหนึ่งคือ​ ​พระ​โสดาบัน​ผู้​นั้น​จะ​ต้อง​ปฏิสนธิ​เป็น​มนุษย์​หรือ​เทวดาอีกชาติ​เดียวก็บรรลุอรหัตตผล

๒.​โกลังโกลโสดาบัน​ ​คือพระ​โสดาบัน​ผู้​ต้อง​ปฏิสนธิ​เป็น​มนุษย์​หรือ​เทวดาอีก​ ​ใน​ระหว่าง​ ๒ ​ถึง​ ๖ ​ชาติ​ ​จึง​จะ​บรรลุอรหัตตผล

๓.​สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน​ ​คือพระ​โสดาบัน​ผู้​ต้อง​ปฏิสนธิอีก​ถึง​ ๗ ​ชาติ​ ​จึง​จะ​บรรลุอรหัตตผล

ที่​แตกต่าง​กัน​เช่นนี้​ ​เป็น​เพราะ​อินทรียแก่กล้า​ไม่​เท่า​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ความ​มุ่งมั่น​ใน​การบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผล​ใช้​เวลานาน​ไม่​เท่า​กัน​ไป​ด้วย​ ​แต่อย่างไรก็ดีพระ​โสดาบันก็​ไม่​ต้อง​ปฏิสนธิ​ใน​ชาติที่​ ๘ ​เพราะ​แม้​จะ​เป็น​ผู้​เพลิดเพลินมี​ความ​ประมาท​อยู่​บ้าง​ ​ก็​ต้อง​บรรลุอรหัตตผล​ใน​ชาติที่​ ๗ ​แน่นอน

​แต่​ยัง​มีพระอริยโสดาบันอีกประ​เภทหนึ่ง​ ​ที่​ไม่​นับรวม​อยู่​ใน​พระอริยโสดาบัน​ ๓ ​ประ​เภทที่กล่าวมา​นั้น​ ​
พระอริยโสดาบันประ​เภทนี้​เรียกว่า​ “ ​วัฏฏาภิรตโสดาบัน​ “ ​เป็น​อริยโสดาบันที่มีอัธยาศัย​ยัง​ยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​
ปรารถนาที่​จะ​เที่ยวปฏิสนธิ​ไป​ใน​เทวโลก​ทั้ง​ ๖ ​ชั้นตลอดไปจน​ถึง​ ​อกนิฏฐภพ​ ​ดังปรากฏ​ใน​บุคคลบัญญัติอรรถกถาว่า

ยัง​มีพระ​โสดาบันบางจำ​พวกมีอัธยาศัยยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะท่องเที่ยวไปปรากฏ​ใน​วัฏฏะบ่อยๆ​ ​ชนเหล่า​นั้น​คือ​ ​อนาถบิณฑิกเศรษฐี​ ​วิสาขาอุบาสิกา​ ​จูฬรัตถเทพบุตร​ ​มหารัตถเทพบุตร​ ​อเนกวรรณเทพบุตร​ ​ท้าวสักกเทวราช​ ​นาคทัตตเทพบุตร​ ​ท่านเหล่านี้​ ​ยัง​มีอัธยาศัยยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​กระทำ​เทวโลก​ทั้ง​ ๖ ​ให้​หมดจด​ ​ตั้งแต่​เริ่มต้น​แล้ว​ ​ก็​จะ​ดำ​รง​อยู่​ใน​ ​อกนิฏฐภพ​ ​จึง​จะ​ปรินิพพาน​ ​พระ​โสดาบันเหล่านี้​ ​ท่าน​ไม่​ประมวล​เข้า​ใน​สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
(พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริ​เฉทที่​ ๑ ​ตอนที่​ ๒ ​จิตปรมัตถ์​ ​หน้า​ ๘๕ ​ของอภิธรรมมูลนิธิ​)

....................................................

สรุป

จูฬโสดาบัน​ ​คือ​ ​กัลยาณปุถุชน​ผู้​แทงตลอดลำ​ดับแห่งนามรูปปริ​เฉทญาณ​ ​ที่​ ๑ ​ถึง​ ​ลำ​ดับโคตรภูญาณที่​ ๑๓ ​ตามสมควร
(​ยัง​ไม่​เป็น​ ​อริยบุคคล​ ​ปิดอบายภูมิ​ไม่​ได้​อย่างถาวร)

วัฏฏาภิรตโสดาบัน​ ​เป็น​อริยโสดาบันที่มีอัธยาศัย​ยัง​ยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​(​เป็น​พระอริยบุคคล​ ​ปิดอบายภูมิ​ได้​ ) ​เช่น​ ​อนาถบิณฑิกเศรษฐี​ ​วิสาขาอุบาสิกา​ ​จูฬรัตถเทพบุตร​ ​มหารัตถเทพบุตร​ ​อเนกวรรณเทพบุตร​ ​ท้าวสักกเทวราช​ ​นาคทัตตเทพบุตร

.....................................................


​ภพภูมิ​เป็น​เรื่องของวิบาก​หรือ​ผลของกรรมที่​จะ​พา​ให้​ผู้​นั้น​ไปเกิด​เป็น​อะ​ไรต่างๆ​ "

ใน​พระพุทธศาสนา​ ​เรียกว่า​ " ​ฐานภูมิ​ " ( ​อ่านว่า​ ​ฐา​ - ​นะ​ - ​ภูมิ​ ) ​ครับ​ !



"...​ภูมิจิตภูมิธรรม​ เป็น​คุณลักษณะของจิต​ "

ใน​พระพุทธศาสนา​ ​เรียกว่า​ " ​อาวัตฐานภูมิ​ " ( ​อ่านว่า​ ​อา​-​วัต​ - ​ฐา​ - ​นะ​ - ​ภูมิ​ )

1 comment:

Unknown said...

บรรลุถึงวิปัสสนาญาณที่ 2 ครับ - - ไปเอามาจากไหนว่า 1-13 พระไตรปิฎกยังเขียนเลยว่า ถึงญาณที่ 2 ปัจจัยปริคคหญาณ คือรู้เหหตุผลของรูปนามว่าเกิดจากอะไร รู้ด้วยใจนะครับไม่ใช่ไปฟังๆเขามา แต่คนที่ฟังแล้วได้นี่ผมก็ไม่รู้ว่ามีไหมนะครับ เพราะผมก็ผ่านไปแล้วตอนฟังก็เข้าใจอยู่แล้ว http://www.dhammahome.com/webboard/topic/11157