Friday, January 4, 2008

อย่าส่งจิตออกนอก

คำสอนของหลวงปู่ดุลย์ ประโยคนี้ แล้วแต่คนจะตีความ

แต่สำหรับผม จากประโยคเริ่มต้นที่ผมได้รู้จากหลวงปู่
ประโยคนี้ประโยคเดียวทำให้ผมมีความก้าวหน้าในทางธรรมจนทุกวันนี้

ในเวลานั้นที่ผมสัมผัสคำนี้
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก สำหรับผม หลวงปู่บอกอะไร
หลวงปู่บอกเราให้มีสติสัมปชัญญะ รักษาสติสัมปชัญญะให้มั่นอย่าฟุ้งออก
ถ้าไม่มีสติ จิตมันก็ฟุ้งออกไป
ถ้ามีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์ จิตก็จะตั้งในสมาธิที่จะนำมาพิจารณาให้เกิดประโยชน์ได้
นี่แหละความหมายที่ผมเข้าใจ


ถ้าเรามารู้จัก สติสัมปชัญญะ กันโดยย่อแล้ว

คำว่า สติ ถ้าจะว่าให้ละเอียด คือ อาการของจิตที่เรียกว่า สติเจตสิก
ส่วนคำว่า สัมปชัญญะ ก็คือ อาการของจิตที่เรียกว่า ปัญญาเจตสิก
เมื่อมาทำงานร่วมกันในการเพ่งหรือจับอารมณ์ จับอาการของจิต
ก็รวมเรียกว่า สติสัมปชัญญะ

ถ้าไปค้นต่อเราจะเจอที่หลวงปู่สอน
ให้ดูพฤติของจิต พฤติของจิตก็ คือ อาการของจิต ที่เรียก เจตสิก นี้แล
ไม่ใช่อะไรไกลตัว อย่าให้มองข้ามไปเสียจากพุทธวจนะ
แล้วเราจะเห็นความสอดคล้องต้องกัน
โดยไม่ต้องไปประดิษฐ์คำอธิบายอะไรมาอีก



*** ข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ***
พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริจเฉทที่​ 2 ​เจตสิกสังคหวิภาค

สติ​เจตสิก​
​คือ​ความ​ระลึกรู้อารมณ์​และ​ยับยั้งมิ​ให้​จิตตกไป​ใน​อกุศล​ ​ความ​ระลึกอารมณ์ที่​เป็น​กุศล​ ​ความ​ระลึก​ได้​ที่รู้ทันอารมณ์​

สติ​ ​เป็น​ธรรมที่มีอุปการะมาก​ต้อง​ใช้​สติต่อ​เนื่อง​กัน​ตลอดเวลา​
​ใน​ทางเจริญวิปัสสนา​หรือ​เจริญสมาธิ​ ​มุ่งทางปฏิบัติ​ซึ่ง​เป็น​ทางสายเดียวที่​จะ​หลุดพ้น​จาก​กิ​เลสไป​ได้​ ​
โดย​เจริญสติปัฏฐานทาง​ ​กาย​ ​เวทนา​ ​จิต​ ​ธรรม​ ​มีสติระลึกรู้​อยู่​เนื่อง​ ​ๆ​ ​ว่า​ ​กายมีปฏิกูล​ ​ฯลฯ​
ถ้าจิตยังสอดส่ายไปที่อื่น สติจะระลึกรู้อยู่เนืองๆได้อย่างไร


ปัญญา​เจตสิก​มี​แต่ดวงเดียว​ไม่​มีพวก​ ​มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า​ ​ปัญญินทรียเจตสิก​
​ปัญญา​เจตสิก​ ​คือ​ความ​รู้​ใน​เหตุผลแห่ง​ความ​จริงของสภาวธรรม​และ​ทำ​ลาย​ความ​เห็นผิด​ ​หรือ​เป็น​เจตสิก
ที่มี​ความ​รู้​เป็น​ใหญ่​ ​ปกครอง​ซึ่ง​สหชาตธรรม​ทั้ง​ปวง​ ​​


สติ เจตสิก มีลักขณาทิจตุกะ​ ​ดังนี้​
อปิลาปนลกฺขณา​ มี​ความ​ระลึก​ได้​ใน​อารมณ์​เนืองๆ​คือมี​ความ​ไม่​ประมาท​ ​เป็น​ลักษณะ​
​อสมฺ​โมหรสา​ ​มีการ​ไม่​หลงลืม​ ​เป็น​กิจ​
​อารกฺขปจฺจุปฏฺฐานา​ ​มีการรักษาอารมณ์​ ​เป็น​ผล​
​ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา​ ​มีการจำ​ได้​แม่นยำ​ ​เป็น​เหตุ​ใกล้​

สติ​เป็น​เครื่องชักนำ​ใจ​ให้​ยึดถือกุสลธรรม​เป็น​อุดมคติ​ ​ถ้า​หากว่าขาดสติ​เป็น​ประธานเสีย​แล้ว​ สมาธิก็​ไม่​สามารถ​จะ​มี​ได้​เลย​ ​และ​เมื่อ​ไม่​มีสมาธิ​แล้ว​ ​ปัญญาก็​เกิด​ไม่​ได้​

เหตุ​ให้​เกิดสติ​ ​โดย​ปกติมี​ ๑๗ ​ประการ​ ​คือ​
(๑) ​ความ​รู้ยิ่ง​ ​เช่น​ ​สติของบุคคลที่ระลึกชาติ​ได้​พระพุทธองค์ระลึกชาติ​ได้​ไม่​จำ​กัดชาติ​จะ​ระลึก​ได้​ทุกชาติ
ที่พระองค์ปรารถนา​ ​สติของพระอานนท์จำ​พระสูตรที่พระพุทธจ้าตรัส​ไว้​ได้​หมด​
(๒) ​ทรัพย์​ ​เป็น​เหตุ​ให้​เจ้าของทรัพย์มีสติ​ ​คือเมื่อมีทรัพย์มัก​จะ​เก็บรักษา​ไว้​อย่างดี​ ​และ​จะ​ระมัดระวังจด
จำ​ไว้​ว่าตนเก็บทรัพย์​ไว้​ที่​ใด​
(๓) ​สติ​เกิดขึ้น​เนื่อง​จาก​เกิดเหตุการณ์ครั้งยิ่ง​ใหญ่​ใน​ชีวิต​ ​เช่น​ ​พระ​โสดาบัน​จะ​จำ​ได้​โดย​แม่นยำ​ถึง​เหตุการณ์ที่ท่าน​ได้​บรรลุ​เป็น​พระ​โสดาบัน​ ​หรือ​บุคคลที่​ได้​รับยศยิ่ง​ใหญ่​ครั้งหนึ่ง​ใน​ชีวิต​
(๔) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​โดย​ระลึก​ถึง​เหตุการณ์ที่ตน​ได้​รับ​ความ​สุขที่ประทับใจ​ ​เมื่อนึก​ถึง​ก็​จะ​จำ​เรื่องต่าง​ ​ๆ​ ​ได้​
(๕) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เนื่อง​จาก​ความ​ทุกข์ที่​ได้​รับเมื่อระลึก​ถึง​ก็​จะ​จดจำ​ได้​
(๖) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึง​กับ​เหตุการณ์ที่ตนเคยประสบ​
(๗) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเหตุการณ์ที่ตรง​กัน​ข้าม​กับ​ที่​เคยประสบ​
(๘) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​คำ​พูดของคน​อื่น​ ​เช่น​ ​มีคนเตือน​ให้​เก็บทรัพย์ที่ลืม​ไว้​
(๙) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเครื่องหมายที่ตนทำ​ไว้​ ​เช่น​ ​เห็นหนังสือที่​เขียนชื่อ​ไว้​ถูกลืม​ไว้​
(๑๐) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​เห็นเรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​หรือ​ผลงาน​ ​เช่น​ ​เห็นพุทธประวัติก็ระลึก​ถึง​องค์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า​ ​เป็น​ต้น​
(๑๑) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​ความ​จำ​ได้​ ​เช่น​ ​มีการนัดหมาย​ไว้​ ​เมื่อมองไปที่กระดานก็จำ​ได้​ว่า​ต้อง​ไปตามที่​ได้​นัด​ไว้​
(๑๒) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การนับ​ ​เช่น​ ​การเจริญสติระลึก​ถึง​พระพุทธคุณ​ ​ก็​ใช้​นับลูกประคำ​ ​เพื่อมิ​ให้​ลืม​
(๑๓) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การทรงจำ​เรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​ที่ศึกษา​ค้น​คว้า​ ​แล้ว​จำ​เรื่องราวต่าง​ ​ๆ​ ​ได้​
(๑๔) ​สติ​เกิดขึ้น​เพราะ​การระลึกชาติ​ได้​ ๑ ​ชาติบ้าง​ ๒ ​ชาติบ้าง​ (บุคคลที่มิ​ใช่​พระพุทธเจ้า)
(๑๕) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​การบันทึก​ไว้​ ​เมื่อดูบันทึกก็จำ​ได้​
(๑๖) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​ทรัพย์ที่​เก็บ​ได้​เช่นเห็นทรัพย์ก็นึกขึ้น​ได้​ว่า​ได้​เก็บทรัพย์​ไว้​
(๑๗) ​สติ​เกิดขึ้น​ ​เพราะ​สิ่งที่​เคยพบเคยเห็นมา​แล้ว​ ​เมื่อเห็นอีกครั้งก็ระลึก​ได้​


ปัญญาเจตสิก มีลักขณาทิจตุกะ​ ​ดังน
​ธมฺมสภาวปฏิ​เวธลกฺขณา​ มี​ความ​รู้​แจ้ง​ซึ่ง​สภาวธรรม​ ​เป็น​ลักษณะ​
​โมหนฺธการวิทฺธํสนรสา​ มีการกำ​จัดมืด​ ​เป็น​กิจ​
​อสมฺ​โมหปจฺจุปฏฺฐานา​ มี​ความ​ไม่​หลงผิด​ ​หรือ​ไม่​เห็นผิด​ ​เป็น​ผล​
​สมาธิปทฏฺฐานา​ มีสมาธิ​ ​เป็น​เหตุ​ใกล้​

กล่าวโดยสรุป ปัญญามี​​ ๓ ​นัย​​ ​คือ​
ก​. ​กัมมสกตาปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้ว่า​ ​กรรม​เป็น​สมบัติของตน

ข​. ​วิปัสสนาปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้ขันธ์​ ๕ ​รูปนาม​ ​เป็น​ ​อนิจจัง​ ​ทุกขัง​ ​อนัตตา​

ค​. ​โลกุตตรปัญญา​ ​ปัญญาที่รู้​แจ้งแทงตลอด​ใน​อริยสัจจ​ ๔ ​

ปัญญาที่รู้​เห็น​ความ​ที่สัตว์มีกรรม​เป็น​สมบัติของตน​ ​อันเรียกว่า​
​กัมมสกตาปัญญา​ ​นี้​ ​มี​ ๑๐ ​ประการ​ ​คือ​
(๑) ​อตฺถิทินนํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​ทานที่บุคคล​ให้​แล้ว​ ​ย่อมมีผล​
(๒) ​อตฺยิฏฐํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​การบูชาย่อมมีผล​
(๓) ​อตฺถิหุตํ​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​การบวงสรวงเทวดา​ ​ย่อมมีผล​
(๔) ​อตฺถิกมฺมานํ​ ​ผลํวิปา​โก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​ผลวิบากของกรรมดี​และ​ชั่วมี​อยู่​ (ทำ​ดี​ได้​ดี​ ​ทำ​ชั่ว​ได้​ชั่ว​
ทั้ง​ทางตรง​และ​ทางอ้อม)
(๕) ​อตฺถิอยํ​โลโก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​โลกนี้มี​อยู่​ ​(​ผู้​จะ​มา​เกิด​นั้น​มี)
(๖) ​อตฺถิปโรโลโก​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​โลกหน้ามี​อยู่​ ​(​ผู้​จะ​ไปเกิด​นั้น​มี)
(๗) ​อตฺถิมาตา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​มารดามี​อยู่​ (การทำ​ดี​ ​ทำ​ชั่วต่อมารดาย่อม​จะ​ได้​รับผล)
(๘) ​อตฺถิปิตา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​ ​บิดามี​อยู่​ (การทำ​ดี​ ​ทำ​ชั่วต่อบิดาย่อม​จะ​ได้​รับผล)
(๙) ​อตฺถิ​ ​สตฺตโอปปาติกา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่า​โอปปาติกสัตว์​นั้น​มี​อยู่​ (สัตว์นรก​ ​เปรต​ ​อสุรกาย​ ​เทวดา​ ​พรหม​นั้น​มี)
(๑๐) ​อตฺถิ​ ​โลเกสมณพฺรหฺมณา​ ​สมฺมาปฏิปนฺนา​ ​ปัญญารู้​เห็นว่าสมณพราหมณ์​ ​ผู้​ปฏิบัติดี​ ​ปฏิบัติชอบ​ ​ประกอบ​ด้วย​ความ​รู้ยิ่ง​ ​เห็นจริง



สัมปชัญญะ​ 4
สัมปชัญญะ​ 4 ( ​ความ​รู้ตัว​ ​ความ​รู้ตัว​ทั่ว​พร้อม​ ​ความ​รู้ชัด​ ​ความ​รู้​ทั่ว​ชัด​ ​ความ​ตระหนัก​ )

1. ​สาตถกสัมปชัญญะ​ 2. ​สัปปายสัมปชัญญะ​ 3. ​โคจรสัมปชัญญะ​ 4. ​อสัมโมหะสัมปชัญญะ

1. ​สาตถกสัมปชัญญะ​

​รู้ชัดว่ามีประ​โยชน์​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​จุดหมาย​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำ​นั้น​มีประ​โยชน์ตาม​ความ​มุ่งหมายอย่างไร​หรือ​ไม่​ ​หรือ​ว่าอะ​ไรควร​เป็น​จุดหมายของการกระทำ​นั้น​ ​เช่น​ ​ผู้​เจริญกรรมฐาน​ ​เมื่อ​จะ​ไป​ ​ณ​ ​ที่​ใด​ที่หนึ่ง​ ​มิ​ใช่​สักว่ารู้สึก​หรือ​นึกขึ้นมาว่า​จะ​ไป​ ​ก็​ไป​ ​แต่ตระหนักว่า​เมื่อไป​แล้ว​จะ​ได้​ปีติสุข​หรือ​ความ​สงบใจ​ ​ช่วย​ให่​เกิด​ความ​เจริญ​โดย​ธรรม​ ​จึง​ไป​ ​โดย​สาระคือ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​เลือกทำ​สิ่งที่ตรง​กับ​วัตถุประสงค์​หรือ​อำ​นวยประ​โยชน์ที่มุ่งหมาย

2. ​สัปปายสัมปชัญญะ​
​รู้ชัดว่า​เป็น​สัปปายะ​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​ความ​เหมาะสมเกื้อกูล​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัดว่า​ ​สิ่งของ​นั้น​ ​การกระทำ​นั้น​ ​ที่ที่​จะ​ไป​นั้น​ ​เหมาะ​กัน​กับ​ตน​ ​เกื้อกูลแก่สุขภาพ​ ​แก่กิจ​ ​เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรม​และ​การเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม​ ​จึง​ใช้​ ​จึง​ทำ​ ​จึง​ไป​ ​หรือ​เลือก​ให้​เหมาะ​ ​เช่น​ ​ภิกษุ​ใช้​จีวรที่​เหมาะ​กับ​ดินฟ้าอากาศ​และ​เหมาะ​กับ​ภาวะของตนที่​เป็น​สมณะ​ ​ผู้​เจริญกรรมฐาน​จะ​ไปฟังธรรมอันมีประ​โยชน์​ใน​ที่ชุมนุม​ใหญ่​ ​แต่รู้ว่ามีอารมณ์​ซึ่ง​จะ​เป็น​อันตรายต่อกรรมฐาน​ ​ก็​ไม่​ไป​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​เลือกทำ​แต่สิ่งที่​เหมาะสมสบายเอื้อต่อกาย​ ​จิต​ ​ชีวิตกิจ​ ​พื้นภูมิ​ ​และ​ภาวะของตน

3. ​โคจรสัมปชัญญะ​
​รู้ชัดว่า​เป็น​โคจร​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​แดนงานของตน​ ​คือรู้ตัวตระหนักชัด​อยู่​ตลอดเวลา​ถึง​สิ่งที่​เป็น​กิจ​ ​หน้าที่​ ​เป็น​ตัวงาน​ ​เป็น​จุดของเรื่องที่ตนกระทำ​ ​ไม่​ว่า​จะ​ไปไหน​หรือ​ทำ​อะ​ไร​อื่น​ ​ก็รู้ตระหนัก​อยู่​ ​ไม่​ปล่อย​ให้​เลือนหายไป​ ​มิ​ใช่​ว่าพอทำ​อะ​ไร​อื่น​ ​หรือ​ไปพบสิ่ง​อื่น​เรื่อง​อื่น​ ​ก็​เตลิดเพริดไป​กับ​สิ่ง​นั้น​เรื่อง​นั้น​เป็น​นกบิน​ไม่​กลับรัง​ ​โดย​เฉพาะการ​ไม่​ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน​ ​ซึ่ง​รวม​ถึง​การบำ​เพ็ญจิตภาวนา​และ​ปัญญาภาวนา​ใน​กิจกรรมทุกอย่าง​ใน​ชีวิตประจำ​วัน​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนักที่​จะ​คุมกาย​และ​จิต​ไว้​ให้​อยู่​ใน​กิจ​ ​ใน​ประ​เด็น​ ​หรือ​แดนงานของตน​ไม่​ให้​เขว​ ​เตลด​ ​เลื่อนลอย​ ​หรือ​ ​หลงลืมไปเสีย

4. ​อสัมโมหะสัมปชัญญะ​

​รู้ชัดว่า​ไม่​หลง​ ​หรือ​ตระหนัก​ใน​ตัวเนื้อหาสภาวะ​ไม่​หลงฟั่นเฟือน​ ​คือเมื่อไปไหน​ ​ทำ​อะ​ไร​ ​ก็รู้ตังตระหนักชัด​ใน​การเคลื่อนไหว​ ​หรือ​ใน​การกระทำ​นั้น​ ​และ​ใน​สิ่งที่กระทำ​นั้น​ ​ไม่​หลง​ ​ไม่​สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน​ ​เข้​ใจล่วงตลอดไป​ถึง​ตัวสภาวะ​ใน​การกระทำ​ที่​เป็น​ไป​อยู่​นั้น​ ​ว่า​เป็น​เพียงการประชุม​กัน​ขององค์ประกอบ​และ​ปัจจัยต่าง​ ​ๆ​ ​ประสานหนุน​เนื่อง​กัน​ขึ้นมา​ให้​ปรากฏ​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​หรือ​สำ​เร็จกิจ​นั้น​ ​ๆ​ ​รู้ทันสมมติ​ ​ไม่​หลงสภาวะ​เช่นยึดเห็น​เป็น​ตัวตน​ ​โดย​สาระคือ​ ​ความ​รู้ตระหนัก​ ​ใน​เรื่องราว​ ​เนื้อหา​ ​สาระ​ ​และ​สภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้อง​หรือ​กระทำ​อยู่​นั้น​ ​ตามที่​เป็น​จริง​โดย​สมมติสัจ​จะ​ ​หรือ​ตลอด​ถึง​โดย​ปรมัตถสัจ​จะ​ ​มิ​ใช่​พรวดพราดทำ​ไป​ ​หรือ​สักว่าทำ​ ​มิ​ใช่​ทำ​อย่างงมงาย​ไม่​รู้​เรื่อง​และ​ไม่​ถูกหลอก​ให้​ลุ่มหลง​หรือ​เข้า​ใจผิดไปเสีย​ด้วย​ความ​พร่ามัว​ ​หรือ​ด้วย​ลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ​ ​หรือ​เย้ายวน​เป็น​ต้น

คัดลอก​จาก​ ​พจนานุกรมพุทธศาสน์​ ​ฉบับ​ประมวลธรรม​ ​โดย​พระธรรมปิฎก​ (ป​.​อ​.​ปยุตโต)


โดยสรุปตามความเข้าใจของผม
คำว่า อย่าส่งจิตออกนอก ของหลวงปู่
ได้เตือนสติให้ผมมีความระมัดระวังยิ่ง
ในการรักษา สติ​ ​ความ​ระลึกรู้

สัมปชัญญะ​ ​
ความ​รู้ตัว​ทั่ว​พร้อม​ ​มี​ความ​รู้​เข้า​ใจสภาวะการตาม​ความ​เป็น​จริง

อาตาปี​ ​
มี​ความ​เพียรพยายามตั้งใจเอา​ใจ​ใส่​ ​มี​โยนิ​โสมนสิการ​ ​ตามกำ​หนดสภาวการต่างๆ​

สติมา​
​อารมณ์ต่างๆ​ ​รูปนามสังขารเกิดขึ้นมา​ใน​ที่​ใด​ ​มีสติกำ​หนด​ใน​ที่​นั้น​ ​ไม่​ให้​คลาดเคลื่อน​จาก​ปัจจุบันอารมณ์​ ​ขณะที่สติ​เกาะ​อยู่​กับ​ปัจจุบันอารมณ์นี้​เองสมาธิก็​เกิด​ด้วย

สัมปชา​โน​ ​
เมื่อ​ ​วิริยะ​ ​สติ​ ​สมาธิ​ ​ทำ​หน้าที่​กัน​อย่างบริบูรณ์​ ​โยคีบุคคล​สามารถ​กำ​หนดรู้​ ​เห็นการเกิดดับของรูปนาม​ ​เห็นไตรลักษณ์​ ​มี​ความ​รู้​เข้า​ใจสภาวะการตาม​ความ​เป็น​จริงนี้​เรียกว่า​ ​ปัญญินทรีย์​เจตสิก​ ​ได้​แก่​ ​สัมปชัญญะ

อาตาปี​ ​สติมา​ ​สัมปชา​โน​ ​นี้​เป็น​หัวใจของสติปัฏฐานสี่
และเป็นหัวใจของการปฏิบัติโดยความระมัดระวังของผม
มาโดยตลอดนับตั้งแต่ ได้อ่านประโยคสั้นๆประโยคนี้ของหลวงปู่เป็นต้นมา


ที่จริงแล้ว ผมเชื่อว่า
ท่านอื่นๆ เองก็อาจจะเข้าใจความหมายต่างออกไปได้นอกจากนี้อีกมากมาย

เพราะพระธรรมนั้น ​เป็น สวากขา​โต ภควตาธัมโม ​ธรรมะอันพระ​ผู้​มีพระภาคเจ้าตรัสดี​แล้ว สันทิฏฐิ​โก ​อัน​ผู้​ปฏิบัติ​ผู้​ได้​บรรลุพึงเห็นเอง อกาลิ​โก ไม่​ประกอบ​ด้วย​กาลเวลา เอหิปัสสิ​โก ควรเรียก​ให้​มาดู โอปนยิ​โก ควรน้อม​เข้า​มา และ ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ​อันวิญญูคือ​ผู้​รู้พึงรู้​เฉพาะตน

ธรรมนั้นกล่าวโดยย่อก็ยาก สรุปยิ่งยาก เพราะธรรมไม่ได้มีความหมายแค่สิ่งที่เราเขียน
เหมือนเวลาเราเข้าใจอะไรก็ตาม จะมาสรุปเป็นภาษาเขียนอย่างไรก็อธิบายไม่ได้ทั้งหมด

แต่ถ้าเราแต่ละคนได้ขวนขวายจนเข้าใจ ในอนาคตข้างหน้า
อย่างน้อยก็พอหวังได้ว่า ใกล้เป้าหมายเข้าไปอีกหนึ่งก้าว

ขอให้เจริญในธรรมครับ

Tuesday, January 1, 2008

คิริมานนนทสูตร​

คิริมานนนทสูตร​ ( ​อุบายรักษา​โรค​ ) : ​ทางไปสู่พระนิพพาน

ดูกรอานนท์ ​บุคคล​ผู้​ที่​เข้า​ใจว่าบุญกุศล​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพานมี​ผู้​นำ​มา​ให้​ ​บาปกรรม​ ​ทุกข์​โทษ​ ​นรก​ ​และ​สัตว์ดิรัจฉาน​ ​ก็มี​ผู้​พา​ไป​ทั้ง​สิ้น​ ​บุคคล​ผู้​ที่​เข้า​ใจอย่างนี้ชื่อว่า​เป็น​ผู้​หลงโลกหลงทาง​ ​หลงสงสาร​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​แม้​จะ​ทำ​บุญ​ให้​ทานสร้างกุศล​ใดๆ​ ​ที่สุดจนออกบวช​ใน​พระพุทธศาสนา​ ​ก็หา​ความ​สุขมิ​ได้​ ​จะ​ได้​เสวยแต่ทุกข์​โดย​ฝ่ายเดียวฯ

ดูกรอานนท์ ​บุญ​กับ​สุขหาก​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อมีบุญก็ชื่อว่ามีสุข​ ​บาป​กับ​ทุกข์ก็​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อมีบาปก็​ได้​ชื่อว่ามีทุกข์​ ​ถ้า​ไม่​รู้บาปก็ละบาป​ไม่​ได้​ ​ถ้า​ไม่​รู้จักบุญก็หาบุญ​ไม่​ได้​ ​เปรียบเหมือนเราอยาก​ได้​ทองคำ​แต่​เราหารู้​ไม่​ว่าทองคำ​นั้น​มีรูปพรรณสัณฐานอย่างไร​ ​ถึง​ทองคำ​นั้น​มี​อยู่​ ​แลเห็น​อยู่​เต็มตา​ ​ก็​ไม่​อาจถือเอา​ได้​โดย​เหตุที่​ไม่​รู้จัก​ ​แม้บุญก็​เหมือน​กัน​ ​ถ้า​ไม่​รู้จักบุญก็หาบุญ​ไม่​ได้​ ​อย่าว่า​แต่บุญ​ซึ่ง​เป็น​ของที่​ไม่​มีรูปร่างเลย​ ​แม้​แต่สิ่งของ​อื่นๆ​ ​ที่มีรูปร่าง​ ​ถ้า​หากว่า​เรา​ไม่​รู้จักก็ถือเอา​ไม่​ได้ฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลที่​ไม่​รู้จักบุญ​และ​ไม่​รู้จักสุข​ ​ทำ​บุญ​จะ​ไม่​ได้​บุญ​ไม่​ได้​สุขเสียเลย​ ​เช่น​นั้น​ ​ตถาคตก็หากล่าวปฏิ​เสธ​ไม่​ ​ทำ​บุญก็คง​ได้​บุญ​และ​ได้​สุข​อยู่​นั่นแล​ ​แต่ทว่าตัวเราหาก​ไม่​รู้​ไม่​เข้า​ใจ​ ​บุญ​และ​ความ​สุขก็บังเกิด​อยู่​ที่ตัวนั่นเอง​ ​แต่ตัวหาก​ไม่​รู้​ไม่​เข้า​ใจ​ ​จึง​เป็น​อันมีบุญ​และ​สุข​ไว้​เปล่าๆ​ ฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวกที่​ไม่​รู้จักว่าบุญคือ​ความ​สุข​ ​เมื่อทำ​บุญ​แล้ว​ปรารถนา​เอา​ความ​สุข​ ​น่าสมเพชเวทนานักหนา​ ​ทำ​ตัวบุญก็​ได้​บุญ​ใน​ทัน​ใด​นั้น​เอง​ ​มิ​ใช่​ว่า​เมื่อทำ​แล้ว​นานๆ​ ​จึง​จัก​ได้​ ​ทำ​เวลา​ใด​ก็​ได้​เวลา​นั้น​แต่ตัว​ไม่​รู้​ ​นั่งทับนอนทับบุญ​อยู่​เปล่าๆ​ ​ตัวก็​ไม่​ได้​รับบุญคือ​ความ​สุข​เพราะ​ตัว​ไม่​รู้​ ​จึง​ว่า​เสียทีที่​เกิดมา​เป็น​มนุษย์พบพระพุทธศาสนา​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ด้วย​ประการฉะนี้ฯ

​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า​ ​อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์​ ​บุคคลที่​เข้า​ใจว่าทำ​บุญ​ไว้​มากๆ​ ​แล้ว​จะ​รู้​และ​ไม่​รู้ก็​ไม่​เป็น​ไร​ ​บุญจักพา​ไป​ให้​ได้​รับ​ความ​สุขเอง​ ​เช่นนี้ชื่อว่า​เป็น​คนหลง​โดย​แท้​ ​เพราะ​เหตุ​ไรบุญจักพาตัวไป​ให้​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​เพราะ​บุญ​กับ​ความ​สุข​เป็น​อันเดียว​กัน​ ​เมื่อ​ไม่​รู้สุขก็คือ​ไม่​รู้จักบุญ​ ​เมื่อเรารู้สุขเห็นสุข​ ​ก็คือเรารู้บุญเห็นบุญนั่นเอง​ ​จะ​ให้​ใครพา​ไปหา​ใครที่​ไหนฯ

ดูกรอานนท์ ​สุขทุกข์นี้​ใครจัก​ช่วย​ใคร​ไม่​ได้​ ​ใคร​จะ​พา​ใครไปนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​นั้น​ไม่​ได้​ ​จะ​ไปนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​ต้อง​ไป​ด้วย​ตนเอง​ ​จะ​พา​เอาคน​อื่น​ไป​ด้วย​ไม่​ได้​เป็น​อันขาด​ ​ก็​แล​ผู้​ใด​อยากพ้นนรกสุก​ใน​เมืองผี​ ​ก็จงทำ​ตน​ให้​พ้น​จาก​นรกดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​เสียก่อน​ ​จึง​จะ​พ้น​จาก​นรกสุก​ใน​เมืองผี​ได้​ ​ถ้า​อยาก​ได้​ความ​สุข​ใน​ภายหน้า​ ​ก็จงทำ​ตน​ให้​ถึง​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​เสียก่อน​ ​ถ้า​ไม่​ได้​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนนี้​ ​แม้​เมื่อตายไป​แล้ว​ ​ก็​ไม่​อาจ​ได้​สวรรค์สุกเลย​ ​ถ้า​ไม่​ได้​สวรรค์ดิบ​ไว้​ก่อน​แล้ว​ ​ตายไปก็มีนรก​เป็น​ที่​อยู่​โดย​แท้​ ​แม้​ความ​สุข​ใน​สวรรค์ก็​ยัง​ไม่​ปราศ​จาก​ทุกข์​ ​มิ​ใช่​ทุกข์​แต่​ใน​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรา​เท่า​นั้น​ก็หามิ​ได้​ ​ถึง​สวรรค์สุก​ใน​ชั้นฟ้า​ใดๆ​ ​ก็ดี​ ​สุข​กับ​ทุกข์มี​อยู่​เสมอ​กัน​ ​เป็น​ความ​สุขที่​ยัง​ไม่​ปราศ​จาก​ทุกข์​ ​ไม่​เหมือนพระนิพพาน​ซึ่ง​เป็น​เอ​กัน​ต​ ​บรมสุข​ ​มี​แต่สุข​โดย​ส่วน​เดียว​ ​ไม่​ได้​เจือปน​ด้วย​ทุกข์​เลยฯ

ดูกรอานนท์ ​อันว่าสวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคนเรานี้​ ​ก็คือ​ได้​เป็น​เจ้า​เป็น​ใหญ่​ใน​สมบัติข้าวของ​ ​และ​เกียรติยศ​ ​และ​บริวารยศ​ ​และ​นามยศ​ ​เมื่อบุคคล​ผู้​ใด​ได้​เป็น​เจ้า​เป็น​ใหญ่​เช่น​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​ผู้​ได้​เสวยสุข​ใน​สวรรค์ดิบ​ผู้​ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​ภายภาคหน้า​ ​ก็จง​ให้​ได้​รับ​ความ​สุขแต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​อย่า​เห็น​ความ​ลำ​บากยาก​แค้น​ ​ใน​สวรรค์ชั้น​ใดๆ​ ​จะ​เป็น​สวรรค์ดิบ​ใน​เมืองคน​ ​หรือ​สวรรค์สุก​ใน​เมืองฟ้าทุกชั้น​ ​ย่อมเจือปน​อยู่​ด้วย​ความ​ทุกข์​ทั้ง​นั้น​ ​ไม่​แปลกต่าง​กัน​ ​และ​ไม่​มาก​ไม่​น้อยกว่า​กัน​ ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์ก็หาก​เป็น​ความ​สุขจริง​ ​จะ​ว่า​ไม่​สุข​นั้น​ก็​ไม่​ได้​ ​แต่ว่า​เป็น​สุขที่​เจือ​อยู่​ด้วย​ทุกข์​ ​แม้​ถึง​กระ​นั้น​ก็คงดีกว่าตก​อยู่​ใน​นรก​โดย​แท้ฯ

ดูกรอานนท์ ​สวรรค์ดิบ​ใน​ชาตินี้​กับ​สวรรค์สุก​ใน​ชาติหน้า​ ​อย่าสงสัยว่า​จะ​ต่าง​กัน​ ​ถึง​จะ​ต่างบ้างก็​เพียง​เล็ก​น้อย​ ​เมื่อ​ต้อง​การ​ความ​สุขเพียง​ใด​ก็จงพากเพียร​ให้​ได้​แต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ใน​เมืองคนนี้​ ​จะ​นั่ง​จะ​นอนคอย​ให้​สุขมาหา​นั้น​ไม่​ได้​ ​ไม่​เหมือนพระนิพพาน​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​นั้น​ไม่​ต้อง​ขวนขวาย​ ​เมื่อจับถูกที่​แล้ว​ ​นั่งสุขนอนสุข​ได้​ที​เดียว​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพานว่า​จะ​ยากก็​เหมือนง่าย​ ​ว่า​จะ​ง่ายก็​เหมือนยาก​ ​ที่ว่ายาก​นั้น​ ​ยาก​เพราะ​ไม่​รู้​ ​ไม่​เห็น​ ​พาลปุถุชนคนตามืด​ทั้ง​หลาย​ ​รู้​ไม่​ถูกที่​ ​เห็น​ไม่​ถูกที่​ ​จับ​ไม่​ถูกที่​ ​จึง​ต้อง​พากเพียรพยายามหลายอย่างหลายประการ​ ​และ​เป็น​การเปล่า​จาก​ประ​โยชน์​ด้วย​ ​ส่วน​ท่านที่มีปัญญาพิจารณาถูกที่​ ​จับถูกที่​แล้ว​ ​ก็​ไม่​ต้อง​ทำ​อะ​ไร​ให้​ยากหลายสิ่งหลายอย่าง​ ​นั่งๆ​ ​นอนๆ​ ​อยู่​เปล่าๆ​ ​เท่า​นั้น​ ​ความ​สุข​ใน​พระนิพพานก็มาบังเกิดขึ้นแก่ท่าน​ได้​เสมอ​ ​เพราะ​เหตุฉะ​นั้น​ ​จึง​ว่า​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​ไม่​เป็น​สุขที่​เจือปนไป​ด้วย​ทุกข์ฯ

ดูกรอานนท์ ​เมื่ออยากรู้ว่า​เรา​จะ​ได้​รับ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์​ ​หรือ​จะ​ได้​รับ​ความ​ทุกข์​ใน​นรก​ ​ก็จงสังเกตดู​ใจของเรา​ใน​เวลาที่​ยัง​ไม่​ตายนี้​ ​ใจของเรามีสุขมาก​หรือ​มีทุกข์มาก​ ​ทุกข์​เป็น​ส่วน​นรกดิบ​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็​ต้อง​ไปตกนรกสุก​ ​สุข​เป็น​ส่วน​สวรรค์ดิบ​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็​ได้​ขึ้นสวรรค์สุก​ ​เมื่อ​ยัง​เป็น​คน​อยู่​ ​มีสุข​หรือ​ทุกข์มาก​เท่า​ใด​ ​แม้​เมื่อตายไปก็คงมีสุข​และ​มีทุกข์มาก​เท่า​นั้น​ ​ไม่​มีพิ​เศษกว่า​กัน​ ​บุคคล​ผู้​ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​ภพนี้​และ​ใน​ภพหน้า​แล้ว​ ​จงรักษา​ใน​ให้​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​ส่วน​ตัวตนร่างกายข้างนอก​นั้น​ไม่​สำ​คัญ​ ​จัก​ได้​รับ​ความ​สุข​และ​ความ​ทุกข์ประการ​ใด​ก็ช่างเถิด​ ​เมื่อตาย​แล้ว​ก็ทิ้ง​อยู่​เหนือแผ่นดินหาประ​โยชน์มิ​ได้​ ​ส่วน​ใจ​นั้น​เป็น​ของติดตามตนไป​ใน​อนาคตเบื้องหน้า​ได้​ ​เพราะ​จิตใจ​เป็น​ของ​ไม่​ตาย​ ​ที่ว่าตาย​นั้น​ ​ตายแต่รูปร่างกายธาตุ​แตกขันธ์ดับ​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​จิตใจตาย​แล้ว​ก็​ไม่​ต้อง​เกิด​ไม่​ต้อง​ตายต่อไปอีกกล่าวคือ​ถึง​พระนิพพานฯ

ดูกรอานนท์ ​ใน​อดีตชาติ​ ​เราตถาคตก็​ได้​หลงท่องเที่ยว​อยู่​ใน​สังสารวัฏนี้ช้านาน​ ​นับ​ด้วย​ร้อย​ด้วย​พันแห่งชาติ​เป็น​อันมาก​ ​ทำ​บุญทำ​กุศลก็ปรารถนา​แต่​จะ​ให้​พ้นทุกข์​ ​ให้​เสวยสุข​ใน​เบื้องหน้า​ ​เข้า​ใจว่าตาย​แล้ว​จึง​จะ​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​ครั้นเมื่อตายจริงก็ตายแจ่ธาตุ​แต่ขันธ์​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​ใจ​นั้น​ไม่​ตาย​จึง​ต้อง​ไปเกิดอีก​ ​เมื่อไปเกิดอีกก็​ต้อง​ตายอีก​ ​เมื่อเห็นเช่นนี้​จะ​พ้นทุกข์​ได้​อย่างไร​ ​ที่นิยม​กัน​ว่าตาย​ ​ก็คือตายเน่าตายเหม็น​อยู่​อย่างทุกวันนี้​ ​ชื่อว่าตายเล่น​ ​ตาย​ไม่​แท้​ ​ตาย​แล้ว​เกิด​ ​เกิด​แล้ว​ตาย​ ​หาต้นหาปลายมิ​ได้​ ​ที่ตายแท้ตายจริงคือตาย​ทั้ง​รูปแตกขันธ์ดับ​ ​ตาย​ทั้ง​จิตใจ​ ​มี​แต่พระพุทธเจ้า​กับ​เหล่าพระอรหันตขีณาสพ​เท่า​นั้น​ ​ท่านเหล่านี้​ไม่​ต้อง​กลับมา​เกิดอีกฯ

ดูกรอานนท์ ​ใน​อดีตชาติ​เมื่อเรา​ยัง​ไม่​รู้​ ​เข้า​ใจว่าตาย​แล้ว​จึง​จะ​พ้นทุกข์​ ​ทำ​บุญก็มุ่งแต่​เอา​ความ​สุข​ใน​เบื้องหน้า​ ​ครั้นตายไปก็หา​ได้​พ้จ​จาก​ทุกข์ตาม​ความ​ประสงค์​ไม่​ ​มาปัจฉิมชาตินี้​เรา​จึง​รู้ว่า​ ​สวรรค์​และ​พระนิพพานมี​อยู่​ที่ตัวเรานี้​เอง​ ​เรา​จึง​ได้​รับเร่งปฏิบัติ​ให้​ได้​ให้​ถึง​แต่​เมื่อ​ยัง​เป็น​คน​อยู่​ ​จึง​พ้น​จาก​ทุกข์​และ​ได้​เสวยสุขอันปราศ​จาก​อามิส​ ​เป็น​พระบรมครูสั่งสอนเวไนยสัตว์​อยู่​ทุกวันนี้​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้​แลฯ

ตทนนฺตรํ ​ลำ​ดับ​นั้น​ ​พระพุทธเจ้า​จึง​ตรัสเทศนาต่อไปอีกว่า​ ​อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์​ ​ความ​ทุกข์​ใน​นรก​และ​ความ​สุข​ใน​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพาน​นั้น​ใคร​จะ​ช่วย​ใคร​ไม่​ได้​ ​เมื่อใครชอบอย่าง​ใด​ก็ทำ​อย่าง​นั้น​ ​แม้​เราตถาคตก็​ช่วย​ใคร​ให้​พ้นทุกข์​ ​และ​ช่วย​ใคร​ให้​ได้​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​ไม่​ได้​ ​ได้​แต่​เพียงสั่งสอยชี้​แจง​ให้​รู้สุขรู้ทุกข์​ ​ให้​รู้สวรรค์​ ​ให้​รู้พระนิพพาน​ด้วย​วาจา​เท่า​นั้น​ ​อันกองทุกข์​โทษบาปกรรมทั้วปวง​นั้น​ ​ก็คือตัวกิ​เลสตัณหา​ ​ครั้นดับกิ​เลสตัณหา​ได้​แล้ว​ก็​ไม่​ต้อง​ตกนรก​ ​ถ้า​ดับกิ​เลสตัณหา​ได้​มาก​ ​ก็ขึ้นไปเสวยสุข​อยู่​ใน​สวรรค์​ ​ถ้า​ดับกิ​เลสตัณหา​ได้​สิ้นเชิงหา​เศษมิ​ได้​แล้ว​ ​ก็​ได้​เสวยสุข​ใน​พระนิพพานที​เดียว

​เราตถาคตบอก​ให้​รู้​แต่ทางไป​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​ผู้​รู้ทางแห่ง​ความ​สุข​ ​แล้ว​ประพฤติปฏิบัติตาม​ได้​ ​ก็ประสบสุขสมประสงค์​ ​อย่าว่า​แต่​เราตถาคตเลย​ ​แม้พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายที่ล่วงไป​แล้ว​นับ​ไม่​ถ้วนก็ดี​ ​และ​จักมาตรัสรู้​ใน​กาลภายหลังก็ดี​ ​จักมา​ช่วย​พา​เอาสัตว์​ทั้ง​หลายไป​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​แล้ว​ให้​ได้​เสวยสุขเช่น​นั้น​ไม่​มี​ ​มี​แต่มาสั่งสอน​ให้​รู้สุขรู้ทุกข์​ ​รู้สวรรค์​และ​พระนิพพานอย่างเดียว​กับ​เราตถาคตนี้​ ​พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายก็ทรง​ไว้​ซึ่ง​ทศพลญาณ​ ​มีอาการเหมือนอย่างเราตถาคตนี้ทุกๆ​ ​พระองค์​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​เข้า​ใจว่าพระพุทธเจ้าต่าง​กัน​ด้วย​ศีล​ ​ด้วย​ฌาณ​ ​ด้วย​อิทธิ​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​คนหลง​ ​ผู้​ที่​ได้​ยามว่าพระพุทธเจ้า​นั้น​ ​ต้อง​มีทศพลญาณสำ​หรับขับขี่​เข้า​สู่พระนิพพาน​ด้วย​กัน​ทุกพระองค์​ ​จะ​ได้​เป็น​พระพุทธเจ้า​แต่​เราองค์​เดียว​นั้น​หามิ​ได้​ ​ผู้​ใด​มีทศพลญาณ​ ​ผู้​นั้น​ได้​ชื่ว่า​เป็น​พระพุทธเจ้า​ด้วย​กัน​ทุกพระองค์​ ​ไม่​ควร​จะ​มี​ความ​สงสัย​ ​ฌาน​ ๑๐ ​ประการ​นั้น​เป็น​เครื่องหมายของพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​ไม่​มีญาณ​ ๑๐ ​ประการ​แล้ว​ ​จะ​รู้ดีมีอิทธิดำ​ดินบินบน​ได้​อย่างไรก็ตาม​ ​ก็​ไม่​เรียกว่าพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​มีญาณ​ ๑๐ ​ประการ​แล้ว​ ​จะ​ไม่​มีอิทธาศักดานุภาพอย่างไรก็ตาม​ ​ก็​ให้​เรียกท่าน​ผู้​นั้น​ว่าพระพุทธเจ้า​ ​เพราะ​ทศพลญาณ​ ๑๐ ​ประการ​เป็น​เครื่องหมายของพระพุทธเจ้า​ ​ถ้า​ไม่​มี​เครื่องหมายนี้​ ​ผู้​ใด​มีฤทธิ์มี​เดชขึ้น​ ​ก็จักตั้งตัว​เป็น​พระพุทธเจ้า​เต็มบ้านเต็มเมือง​ ​ก็​เห็นทางแห่ง​ความ​เสียหายวายโลก​เท่า​นั้นฯ

ดูกรอานนท์ ​ทศพลญาณ​ ๑๐ ​ประการ​นั้น​ ​เป็น​ของสำ​คัญ​อยู่​สำ​หรับโลก​ ​ไม่​มี​ผู้​ใด​แต่งตั้งขึ้น​ ​เป็น​แต่​เราตถาคต​เป็น​ผู้​รู้​ผู้​เห็นก่อน​ ​แล้ว​ยกออกตี​แผ่​ให้​โลกเห็น​ ​พระพุทธเจ้า​ทั้ง​หลายบำ​เพ็ญ​ ๑๐ ​ประการ​ได้​แล้ว​ ​ก็ขับขี่​เข้า​สู่พระนิพพาน​ ​เมื่อ​ถึง​พระนิพพาน​แล้ว​ ​ก็ปล่อยวางญาณ​นั้น​ไว้​ให้​แก่​โลกตามเติม​ ​หา​ได้​เอาตัวตนจิตใจ​เข้า​สู่พระนิพพาน​ด้วย​ไม่​ ​เอาจิตใจไป​ได้​เพียงนรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พรหมโลก​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​พระนิพพาน​นั้น​ ​ถ้า​ดับจิตใจ​ไม่​ได้​แล้ว​ก็​ไป​ไม่​ได้​ ​ถ้า​เข้า​ใจว่าจักเอาจิตใจไป​เป็น​สุข​ใน​พระนิพพาน​แล้ว​ ​ต้อง​หลงขึ้นไป​เป็น​อรูปพรหม​เป็น​แน่ฯ​

ดูกรอานนท์ ​การตกนรก​และ​ขึ้นสวรรค์​ ​จะ​เอาตัวไป​ไม่​ได้​ ​เอา​แต่จิตไป​ ​จิต​นั้น​มครจับ​ต้อง​รูปคลำ​ไม่​ได้​ ​เป็น​แต่ลม​เท่า​นั้น​ ​เพราะ​จิต​เป็น​ของละ​เอียด​ ​ใคร​จะ​จับถือ​ไม่​ได้​ ​เมื่อจิตไปตกนรก​ ​ใคร​จะ​ไป​ช่วย​ยกขึ้น​ได้​ ​ถ้า​จิต​นั้น​เป็น​ตัว​เป็น​ตนก็พอ​จะ​ช่วย​กัน​ได้​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​คอยท่า​ให้​ผู้​อื่น​มา​ช่วย​ยกตัว​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ ​นำ​ตัวไป​ให้​ได้​เสวยสุข​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​คนโง่​เขลาหาปัญญามิ​ได้​ ​แต่​เราตถาคตรู้นรกสวรรค์ทุกข์สุข​อยู่​แล้ว​ ​และ​หาอุบายที่​จะ​พ้น​จาก​ทุกข์​ให้​ได้​เสวยสุข​ ​ก็​เป็น​การแสนยากแสนลำ​บาก​ ​จะ​ไปพาจิตใจของท่าน​ผู้​อื่น​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​อย่างไร​ ​ถึง​แม้พระพุทธเจ้าองค์ที่จักตรัสรู้​ใน​เบื้องหน้าก็​เหมือน​กัน​ ​มี​แต่​แนะนำ​สั่งสอน​ให้​รู้สุขทุกข์​ ​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​เท่า​นั้น

​ผู้​ที่​ต้อง​การ​จะ​สุขทุกข์อย่าง​ใด​นั้น​ ​แล้ว​แต่อัธยาศัย​ ​แต่ว่า​ต้อง​ศึกษา​ให้​รู้​แท้​แน่นอนแก่​ใจเสียก่อนว่า​ ​ทุกข์​ใน​นรก​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​สุข​ใน​สวรรค์​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​สุข​ใน​พระนิพพาน​เป็น​อย่าง​นั้น​ ​เมื่อรู้​แล้ว​จึง​จัก​ยัง​มีทาง​ได้​ถึง​บ้างคงจัก​ไม่​ท่องเที่ยว​อยู่​ใน​วัฏสงสารเนิ่นนาน​เท่า​ไรนัก​ ​ถ้า​ไม่​รู้​แจ้งแต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​ก็​ไม่​อาจจักพ้น​ได้​เลย​ ​และ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​ผู้​เกิดมา​เสียชาติ​เป็น​มนุษย์​ ​เสีย​ความ​ปรารถนา​เดิม​ซึ่ง​หมายว่า​จะ​เป็น​ผู้​เกิดมา​เพื่อ​ความ​สุข​ ​ครั้นเกิดมา​แล้ว​ก็พลอย​ไม่​ให้​คน​ได้​รับ​ความ​สุข​ ​ซ้ำ​ยัง​ตน​ให้​จม​อยู่​ใน​นรก​ ​ทำ​ให้​เสียสัตย์​ ​ความ​ปรารถนา​แห่งตน​ ​น่าสังเวชสลดใจยิ่งนัก​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ผู้​มีอายุ​ ​พระพุทธเจ้าตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้​แลฯ

อิ​โต​ ​ปรํ​ ​คิริมานนฺทสตฺตํ​ ​อนุสนฺธํ​ ​ฆเฏตฺวา​ ​ภาสิสฺ​ ​สามีติ​ ​เบื้องหน้า​แต่นี้​ ​จักแสดงคิริมานนทสูตรสืบต่อไปฯ​ ​มีคำ​พระอานนท์ปฏิญญาว่าดังนี้

ภนฺ​เต​ ​อริยกสฺสป​ ​ข้า​แต่พระอริยเจ้า​ทั้ง​หลาย​ ​มีพระมหากัสสปะ​เป็น​ประธาน​ ​ภควา​ ​อันว่าพระ​ผู้​มีพระภาคเจ้า​ ​เทเสสิ​ ​ก็ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​สืบต่อไปว่า​

อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์ ​อันว่า​ความ​ทุกข์​และ​ความ​สุข​นั้น​ ​ก็มี​อยู่​แต่​ใน​นรก​และ​สวรรค์​เท่า​นั้น​ ​ส่วน​พระนิพพานมี​อยู่​นอกสวรรค์​และ​นรกต่างหาก​ ​บัดนี้จักแสดงทุกข์​และ​สุข​ใน​นรก​และ​สวรรค์​ให้​แจ้งก่อนฯ

​จิตใจของเรานี้​ ​เมื่อมีทุกข์​หรือ​สุข​แล้ว​ ​ใคร​จะ​สามารถ​ช่วย​ยกออก​จาก​จิตของเรา​ได้​ ​อย่าว่า​แต่ตัวเรา​เลย​ ​แม้ท่าน​ผู้​อื่น​เราก็​ไม่​สามารถ​จะ​ช่วย​ยกออก​ได้​ ​มีอาการเหมือน​กัน​ทุกรูปทุกนาม​ ​ทุกตัวตนสัคว์บุคคล

​อนึ่ง​ ​เมื่อท่านมีทุกข์​แล้ว​ ​จะ​นำ​ทุกข์ของท่านมา​ให้​เราก็​ไม่​ได้​ ​เรามีทุกข์​แล้ว​จะ​นำ​ทุกข์​ไป​ให้​ท่าน​ผู้​อื่น​ก็​ไม่​ได้​ ​แม้​ความ​สุขก็มีอาการเช่น​กัน​ ​สุข​และ​ทุกข์​ไมมี​ใคร​จะ​ช่วย​กัน​ได้​ ​สิ่งที่​จะ​ช่วย​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​มี​แต่อำ​นาจกุศลผลบุญ​ ​มีการ​ให้​ทาน​และ​รักษาศีล​เป็น​ต้น​เท่า​นั้น​ ​ที่​เป็น​ผู้​ช่วย​ให้​พ้น​จาก​ทุกข์​ได้​ ​มนุษย์​ ​เทวดา​ ​อินทร์​ ​พรหม​ ​และ​มครๆ​ ​จะ​มา​ช่วย​ให้​พ้นทุกข์​และ​ให้​ได้​เสวยสุข​นั้น​ไม่​ได้​ ​ที่สุดแม้​เราตถาคต​ผู้​ทรง​ไว้​ซึ่ง​ญาณเห็นปานนี้ก็​ไม่​อาจ​ช่วย​ใคร​ได้​ ​ได้​แต่​เป็น​ผู้​ช่วย​แนะนำ​ตักเตือน​ให้​รู้สุขทุกข์​และ​สวรรค์นรก​เท่า​นั้น​ ​ตัว​ต้อง​ยกตัวอย่าง​ ​ถ้า​รู้ว่านรก​และ​สวรรค์​อยู่​ที่ตัว​ ​แล้ว​ยกตัว​ให้​ขึ้นสวรรค์​ไม่​ได้​ ​ก็ชื่อว่า​เกิดมา​เสียชาติ​และ​เสียเวลาที่​เกิดมาพบพระพุทธศาสนา​ ​น่า​เสียกายชาติที่​ได้​เกิด​เป็น​รูปร่างกาย​ ​มีอวัยวะพรักพร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง​ ​ทั้ง​ได้​พบพระพุทธศาสนา​ด้วย​ ​สมควร​จะ​ได้​สวรรค์​และ​พระนิพพาน​โดย​แท้​ ​เหตุ​ไฉน​จึง​เหยียบย่ำ​ตัวเอง​ให้​จม​อยู่​ใน​นรกเช่น​นั้น​ ​น่าสังเวชนักฯ

ดูกรอานนท์ ​สุขทุกข์​นั้น​ให้​หมายเอาที่จิต​ ​จิตสุข​เป็น​สวรรค์​ ​จิตทุกข์​เป็น​นรก​ ​จะ​เข้า​ใจว่านรก​และ​สวรรค์มี​อยู่​นอกจิตใจเช่น​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่า​เป็น​คนหลง​ ​นรก​ ​และ​สวรรค์​ ​บาปบุญคุณโทษ​ ​ย่อมมี​อยู่​ใน​อก​ใน​ใจ​ทั้ง​สิ้น​ ​อยากพ้นทุกข์​ ​ก็​ให้​รักษาจิตใจ​จาก​สิ่งที่​เป็น​บาป​เป็น​ทุกข์​เสีย​ ​ถ้า​ต้อง​การสวรรค์ก็ทำ​งานที่หา​โทษมิ​ได้​ ​เพระการบุญการกุศล​นั้น​เมื่อทำ​ก็​ไม่​เดือดร้อน​ ​และ​เมื่อทำ​แล้ว​ระลึก​ถึง​ก็​ให้​เกิด​ความ​สุขสำ​ราญบานใจทุกเมื่อ​ ​เช่นนี้ชื่อว่า​เรา​ได้​ขึ้สวรรค์​ ​และ​ถ้า​อยาก​ได้​สุข​ใน​พระนิพพาน​ ​ก็​ให้​วางเสีย​ซึ่ง​สุข​และ​ทุกข์​ ​คือวางจิตใจอย่าถือว่า​เป็น​ของของตน​ ​ก็ชื่อว่า​ได้​ถึง​พระนิพพาน​ ​เพราะ​ว่า​ใจ​เป็น​ใหญ่​ ​เป็น​ประธาน​ ​สุขทุกข์​ทั้ง​สวรรค์​และ​พระนิพพานสำ​เร็จ​แล้ว​ด้วย​ใจ​ ​คือว่ามี​อยู่​ที่จิตที่​ใจของเรา​ทั้ง​สิ้น​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ไม่​รู้ว่าของเหล่านี้มี​ใน​ตน​ ​แล้ว​ไปเที่ยว​ค้น​คว้าหา​ใน​ที่​อื่น​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​ชื่อว่า​เป็น​คนหลงคนเมา​ ​เป็น​ผู้​หนา​อยู่​ด้วย​กิ​เลสตัณหา​ ​มือมน​อยู่​ด้วย​มลทินแห่งนรกฯ

ดูกรอานนท์ ​สัตว์ที่ตก​อยู่​ใน​นรกมากมายนับมิ​ได้​ ​แน่นอัดยัดเยียด​กัน​อยู่​ใน​นรก​ ​ดังข้าวสาร​หรือ​เมล็ดถั่วเมล็ดงา​ใน​กระสอบ​ ​แต่ก็​ไม่​เห็นดัน​ได้​ด้วย​เขา​ไม่​รู้​ไม่​เห็น​ซึ่ง​นรก​ ​ไม่​รู้สุขทุกข์บาปบุญคุณโทษ​ ​ไม่​รู้ว่าจิตของตน​เป็น​ทุกข์​เป็น​สุข​ ​มี​แต่มัวเมา​อยู่​ด้วย​ตัณหากามาราคาทิกิ​เลส​ ​จึง​ชื่อว่าตก​อยู่​ใน​นรก​ ​ยัดเยียด​กัน​ดังข้าวสาร​หรือ​เมล็ดถั่วเมล็ดงา​ใน​กระสอบ​ ​ร้องเรียกหา​กัน​ไม่​เห็น​กัน​ ​คือ​ไม่​เห็นทุกข์​ไม่​เห็นสุขแห่ง​กัน​และ​กัน​เท่า​นั้น​เองฯ

ดูกรอานนท์ ​จิตใจ​นั้น​ ​ใครก็​ไม่​แลเห็นของ​กัน​และ​กัน​ได้​ ​ผู้​ที่รู้​เห็นจิตใจของ​ผู้​อื่น​ได้​นั้น​ ​มี​แต่พระพุทธเจ้า​และ​พระอรหันต์​เท่า​นั้น​ ​พระพุทธเจ้าที่​จะ​รู้​เห็นจิตใจของ​ผู้​อื่น​ได้​ ​ก็​ด้วย​ญาณแห่งพระอรหันต์​ ​ถ้า​ละกิ​เลสตัวร้ายมิ​ได้​ ​คุณ​ความ​เป็น​แห่งพระอรหันต์ก็​ไม่​มาตั้ง​อยู่​ใน​สันดาน​ ​จึง​ไม่​อาจหยั่งรู้วาระจิตของสัตว์​ทั้ง​ปวง​ได้​ ​แม้พระตถาคต​จะ​หยั่งรู้วาระของสัตว์​ทั้ง​ปวง​ได้​ ​ก็​เพราะ​ปราศ​จาก​กิ​เลส​ ​คือ​ความ​เป็น​ไปแห่งพระอรหันต์​ ​บุคคล​ผู้​ที่​ไม่​พ้นกิ​เลส​ ​คือ​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​ ​แล​จะ​มาปฏิญาณว่ารู้​เห็นจิตแห่งบุคคล​อื่น​ ​จะ​ควรเชื่อฟัง​ได้​ด้วย​เหตุ​ใด​ ​ถึง​แม้​จะ​รู้​ได้​ด้วย​วิชาคุณอย่าง​อื่น​ ​รู้​ด้วย​สมาธิคุณ​เป็น​ต้น​ ​ก็รู้​ไป​ไม่​ถึง​ไหน​ ​แม้​จะ​รู้ก็รู้ผิดๆ​ ​ถูกๆ​ ​ไปอย่าง​นั้น​ ​จะ​รู้จริงแจ้งชัดดังที่รู้​ด้วย​อรหันต์คุณ​นั้น​ไม่​ได้

ถ้า​บุคคลที่​ยัง​ไม่​พ้นกิ​เลส​ ​มี​ความ​รู้ดียิ่งกว่า​เราตถาคต​ผู้​เป็น​พระอรหันต์​แล้ว​ ​การที่​เราตถาคตสละบุตรภรรยาทรัพย์สมบัติ​ ​อัน​เป็น​เครื่องเจริญแห่ง​ความ​สุขออกบวชนี้​ ​ก็ชื่อว่า​เป็น​ผู้​ที่​โง่​เขลากว่าบุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​เพราะ​เขา​ยัง​จม​อยู่​ใน​กิ​เลส​ ​แต่มี​ความ​รู้ดียิ่งกว่าพระพุทธเจ้า​ผู้​เป็น​พระอรหันต์​ ​ผู้​ไกล​จาก​กิ​เลส​ ​ข้อที่ละกิ​เลส​ไม่​ได้​ ​คือ​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​แล้ว​จะ​มีปัญญารู้จิตใจแห่งสัตว์​ทั้ง​หลายยิ่งกว่าพระพืธเจ้า​หรือ​พระอรหันต์​หรือ​จะ​มีปัญญารู้​เสมอ​กัน​นั้น​ไม่​มี​เลย​ ​ผู้​ที่​ยัง​ละกิ​เลส​ไม่​ได้​ ​คือ​ยัง​ไม่​ได้​สำ​เร็จพระอรหันต์​ ​มากล่าว​ ​ว่าตนรู้​เห็นจิตใจของสัตว์​ทั้ง​หลาย​นั้น​ ​กล่าวอวดเปล่าๆ​ ​ความ​รู้​เพียง​นั้น​ยัง​พ้นนรก​ไม่​ได้​ ​ไม่​ควร​จะ​เชื่อถือ​ ​ถ้า​ใครเชื่อถือก็ชื่อว่า​เป็น​คนนอกพระศาสนา​ ​ไม่​ใช่​ลูกศิษย์ของเราตถาคต​ ​แท้ที่จริงหากเอาศาสนธรรมอันวิ​เศษของเรานี้​ ​บังหน้า​ไว้​สำ​หรับหลอกลวงโลก​เท่า​นั้น​ ​บุคคลจำ​พวกนี้​ ​แม้​จะ​ทำ​บุญกุศล​เท่า​ไรก็​ไม่​พ้นนรก​ ​แม้​ผู้​ที่มา​เชื่อถือบุคคลจำ​พวกนี้​ ​ก็มีทุคติ​เป็น​ที่​ไป​ใน​เบื้องหน้า​เหมือน​กันฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวกที่อวดรู้อวดดีอย่างนี้​แหละ​ ​จะ​เป็น​ผู้​เบียดเบียนศาสนาของเรา​ให้​เศร้าหมองเสื่อมทรามลงไป​ ​เมื่อ​เขา​เกิดมา​แล้ว​ก็​จะ​มา​เบียดเบียนพระมหา​เถระ​และ​สามเณรน้อย​ ​ด้วย​ถ้อยคำ​อัน​ไม่​เจริญใจ​ ​ผู้​มีปัญญาน้อย​ ​ใจเบา​ ​ก็​จะ​พา​กัน​แตกตื่นสึกหาลา​เพศออก​จาก​ศาสนา​ ​พระศาสนาของเราก็จักเสื่อมถอยลงไปฯ

ดูกรอานนท์ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ ​หากเบียดเบียนเสียดสีหมิ่นประมาทใจพระสังฆเถระ​และ​ภิกษุสามเณร​ ​ที่​เป็น​ศิษย์ของพระตถาคต​ ​โดย​ที่ท่าน​ทั้ง​หลาย​นั้น​มี​โทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​ ​และ​บังคับ​ให้​สึกออก​จาก​เพศพรหมจรรย์​ ​หรือ​กระทำ​ปัพพาชนียกรรมไปเสียก็ดี​ ​บุคคลจำ​พวก​นั้น​เป็น​บาปยิ่งนัก​ ​ไม่​อาจพ้นนรก​ได้​ ​บุคคลจำ​พวก​ใด​ ​มี​ความ​เชื่อ​ความ​เลื่อมใส​ใน​คุณธรรมคำ​สั่งสอนของเราตถาคต​ ​แล้ว​เชิดชูยกย่อง​ไว้​ให้​ดี​ ​มิ​ได้​ดูถูกดูหมิ่นบุคคลจำ​พวก​นั้น​ ​ก็​จะ​มี​ความ​เจริญ​ด้วย​ความ​สุข​ทั้ง​ใน​โลกนี้​และ​โลกหน้า​ ​แม้ปรารถนาสุจอัน​ใด​ซึ่ง​ไม่​เหลือวิสัย​ ​ก็อาจสำ​เร็จสุขอัน​นั้น​ได้​ตามปรารถนา​ ​บุคคลที่ทำ​ลายพระพุทธรูป​ ​พระสถูป​ ​พระ​เจดีย์​ ​และ​ตัดไม้ศรีมหา​โพธิ์​ ​หรือ​บุคคลจำ​พวกที่กล่าวหมิ่นประมาทเย้ยหยัน​ ​แก่สานุศิษย์ของเราตถาคตที่มี​โทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​ ​บุคคลจำ​พวกนี้มี​โทษหนักยิ่งกว่าจำ​พวดที่ทำ​ลายประพุทธรูป​ ​และ​พระสถูปพระ​เจดีย์​นั้น​หลาย​เท่า​ ​บุคคลที่ทำ​ลายพระพุทธรูป​เป็น​ต้น​นั้น​ ​เป็น​บาปมากก็จริง​อยู่​ ​แต่​ยัง​ไม่​นับว่า​เป็น​การทำ​ลายพระพุทธศาสนา​ ​ผู้​ที่กล่าวหมิ่นประมาท​นั้น​ ​ได้​ชื่อว่าทำ​ลายศาสนาของพระตถาคต​ ​เพราะ​ว่า​ผู้​ที่มี​ความ​ผิดโทษ​ไม่​ถึง​ปาราชิก​นั้น​ ​ยัง​นับว่า​เป็น​ลูกศิษย์ของเราตถาคต​อยู่​ ​ต่อเมื่อ​เป็น​ปาราชิก​แล้ว​จึง​ขาด​จาก​ความ​เป็น​ลูกศิษย์ของเรา​ ​ถ้า​เป็น​โทษเช่น​นั้น​ ​แม้​จะ​ลงโทษ​หรือ​กระทำ​ปัพพาชนียกรรม​ ​ก็หา​โทษมิ​ได้​ ​และ​ได้​ชื่อว่า​ช่วย​พระศาสนาของเรา​ด้วย

​การทำ​ลายพระพุทธรูป​หรือ​พระสถูปเจดีย์​นั้น​ ​ยัง​มีทางกุศล​ได้​อยู่​ดังพระพุทธรูป​ไม่​ดี​ไม่​งาม​แล้ว​ทำ​ลายเสีย​ ​แก้​ไข​ให้​งาม​ให้​ดีขึ้น​ ​แม้พระ​เจดีย์​หรือ​ไม้ศรีมหา​โพธิ์ก็​เช่น​กัน​ ​ต้นโพธิ์ที่ตั้ง​อยู่​ใน​ที่​ไม่​สมควร​ ​เช่นตั้ง​อยู่​ใน​ที่​ใกล้​ถาวรวัตถุ​ ​อาจทำ​ลายถาวรวัตถุ​นั้น​ได้​ ​จะ​ตัดเสียก็หา​โทษมิ​ได้​ ​ถ้า​ทำ​ลายเพื่อหาประ​โยชน์​แก่ตน​ ​หรือ​ทำ​ลาย​โดย​ความ​อิจฉาริษยา​เช่น​นั้น​ ​ย่อม​เป็น​บาป​เป็น​กรรม​โดย​แท้​ ​แม้​ถึง​อย่า​นั้น​ก็​ยัง​ไม่​ชื่อว่า​เป็น​การทำ​ลายศาสนา​ ​พวกที่หมิ่นประมาท​ ​ทำ​ให้​สงฆ์ที่มี​โทษ​ยัง​ไม่​ถึง​อันติมะ​ ​ให้​ได้​รับ​ความ​เดือดร้อน​ถึง​แก่​เสื่อม​จาก​พรหมจรรย์​ ​ได้​ชื่อว่าทำ​ลายพระพุทธศาสนา​โดย​แท้​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ ​พระพุทธเจ้า​ได้​ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ดังนี้ฯ
แล้ว​จึง​ตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​สืบต่อไปอีกว่า

อานนฺท​ ​ดูกรอานนท์ ​บุคคลที่ปรารถนา​ซึ่ง​สวรรค์​และ​พระนิพพานก็จงรีบพากเพียรกระทำ​ให้​ได้​ให้​ถึง​แต่​เมื่อ​ยัง​มีชีวิต​อยู่​ ​เพราะ​มี​อยู่​ที่​ใจของเราทุกอย่าง​ ​จะ​เป็น​การลำ​บากมาก​อยู่​ก็​แต่พระนิพพาน​ ​ผู้​ที่ปรารถนา​ความ​สุข​ใน​พระนิพพาน​ ​จงทำ​ตัว​ให้​เหมือนแผ่นดิน​หรือ​เหมือนดังคนตาย​แล้ว​คือ​ให้​ปล่อย​ความ​สุข​และ​ความ​ทุกข์​เสีย​ ​ข้อสำ​คัญก็คือ​ ​ให้​ดับกิ​เลส​ ๑,๕๐๐ ​นั้น​เสีย

กิ​เลส​ ๑,๕๐๐ ​นั้น​ ​เมื่อย่นลง​ให้​สั้น​แล้ว​ก็​เหลือ​อยู่​แค่​ ๕ ​เท่า​นั้น​ ​คือ​ ​โลภะ​ ๑ ​โทสะ​ ๑ ​โมหะ​ ๑ ​มานะ​ ๑ ​ทิฎฐิ​ ๑

โลภะ​ ​นั้น​คือ​ความ​ทะ​เยอทะยานมุ่งหวังอยาก​ได้​กิ​เลสกาม​ ​คือรูป​ ​เสียง​ ​กลิ่น​ ​รส​ ​โผฏฐัพพะ​ ๑ ​อยาก​ได้​วัตถุกาม​ ​คือสมบัติข้าวของ​ซึ่ง​มีวิญญาณ​และ​หาวิญญาณมิ​ได้​ ๑ ​เหล่านี้ชื่อว่า​ ​โลภะ

โทสะ​ ​นั้น​ได้​แก่​ ​ความ​เคือง​แค้น​ประทุษร้ายเบียดเบียนท่าน​ผู้​อื่น​ ​เหล่านี้ชื่อว่า​ ​โทสะ

โมหะ​ ​นั้น​คือ​ความ​หลง​ ​มีหลงรัก​ ​หลงชัง​ ​หลงลาภ​ ​หลงยศ​ ​เป็น​ต้น​ ​เหล่านี้ชื่อว่า​โมหะ

มานะ​ ​นั้น​คือ​ความ​ถือตัวถือตน​ ​ดูถูกดูหมิ่นท่าน​ผู้​อื่น​ ​ชื่อว่ามานะ

ทิฏฐิ​ ​นั้น​คือ​ความ​ถือมั่น​ใน​ลัทธิอันผิด​ ​เห็น​เป็น​อุจเฉททิฏฐิ​และ​สัสสคทิฏฐิ​ ​ปล่อยวาง​ความ​เห็นผิด​ไม่​ได้​ ​ชื่อว่า​ ​ทิฏฐิ

ถ้า​ดับกิ​เลส​ทั้ง​ ๕ ​นี้​ได้​แล้ว​ ​ก็ชื่อว่าดับกิ​เลส​ได้​ทั้ง​สิ้น​ ๑,๕๐๐ ​ถ้า​ดับกิ​เลส​ทั้ง​ ๕ ​นี้​ไม่​ได้​ ​ก็ชื่อว่าดับกิ​เลส​ไม่​ได้​เลยฯ

ดูกรอานนท์ ​ปุถุชนคนหนา​ทั้ง​หลานที่ปรารถนาพระนิพพาน​ได้​ด้วย​ยาก​นั้น​ ​ก็​เพราะ​เหตุที่​ไม่​รู้จักดับกิ​เลสตัณหา​ ​เข้า​ใจเสียว่าทำ​บุญทำ​กุศล​ให้​มาก​แล้ว​ ​บุญกุศล​นั้น​จักเลื่อนลอยมา​จาก​อากาศเวหา​ ​นำ​ตัวขึ้นไปสู่พระนิพพาน​ ​ส่วน​ว่าพระนิพพาน​นั้น​ ​จะ​อยู่​แห่งหนตำ​บล​ใด​ก็หารู้​ไม่​ ​แต่คาดคะ​เนเอาอย่าง​นั้น​ ​จึง​ได้​พระนิพพาน​ด้วย​ยาก​ ​แท้ที่จริงพระนิพพาน​นั้น​ไม่​มี​อยู่​ใน​ที่​อื่น​ไกล​เลย​ ​หากมี​อยู่​ที่จิตใจนั่นเอง​ ​ครั้นดับโลภะ​ ​โทสะ​ ​โมหะ​ ​มานะ​ ​ทิฏฐิ​ ​ได้​ขาด​แล้ว​ ​ก็​ถึง​พระนิพพาน​เท่า​นั้น​ ​ถ้า​ไม่​รู้​และ​ดับกิ​เลสตัณหา​ยัง​ไม่​ได้​ ​เป็น​แต่ปรารถนาว่า​ ​ขอ​ให้​ได้​พระนิพพานดังนี้​ ​แม้สิ้นหมื่นชาติ​แสนชาติก็​ไม่​ได้​พบปะ​เลย​ ​เพราะ​กิ​เลสตัณหา​ทั้ง​หลายย่อมมี​อยู่​ที่ตัวตนของเรา​ทั้ง​สิ้น​ ​เมื่อตัว​ไม่​รู้จักระงับกิ​เลสตัณหาที่มี​อยู่​ให้​หมดไป​ ​ก็​ไม่​ได้​ไม่​ถึง​เท่า​นั้น​ ​จะ​คอยท่า​ให้​บุญกุศลมา​ช่วย​ระงับดับกิ​เลสของตัวเช่นนี้​ ​ไม่​ใช่​ฐานะที่​จะ​พึงคิด​ ​บุญกุศล​นั้น​ก็คือตัวเรานี้​เอง​ ​เรา​แล​จะ​เป็น​ผู้​ระงับดับกิ​เลส​ให้​สิ้นไปหมดไป​ ​จึง​จะ​สำ​เร็จ​ได้​ดังสมประสงค์ฯ

ดูกรอานนท์ ​ปุถุชนคนเขลา​ทั้ง​หลายที่​ได้​ที่​ถึง​พระนิพพาน​ด้วย​ยาก​นั้น​ ​เพราะ​เขา​ปรารถนา​เปล่าๆ​ ​จึง​ไม่​ได้​ไม่​ถึง​ ​เขา​ไม่​รู้ว่าพระนิพพาน​อยู่​ใน​ใจของ​เขา​ ​มี​แต่คิด​ใน​ใจว่า​ ​จะ​ไปเอา​ใน​ชาติหน้า​ ​หารู้​ไม่​ว่านรก​ ​สวรรค์​ ​และ​พระนิพพานมี​อยู่​ใน​ตน​ ​เหตุฉะ​นั้น​จึง​พา​กัน​ตกทุกข์​ได้​ยากลำ​บากยิ่งนัก​ ​พา​กัน​เวียนว่ายตายเกิด​อยู่​ใน​วัฏสงสารนี้​ ​ถือเอากำ​เนิด​ใน​ภพน้อยภพ​ใหญ่​อยู่​ไม่​มีที่สิ้นสุด​ ​ข้า​แต่พระมหากัสสปะ​ ​พระพุทธเจ้าทรงตรัสเทศนา​แก่ข้าฯ​ ​อานนท์​ ​ด้วย​ประการฉะนี้ฯ

......................................................................................................................................

ขอขอบคุณที่มาบท​ความ​ : ​คิริมานนทสูตร​ ( ​อุบายรักษา​โรค​ )

จูฬโสดาบัน

จูฬโสดาบัน​ ๑ ( ​กัลยาณปุถุชน​ผู้​แทงตลอดลำ​ดับแห่งนามรูปปริ​เฉทญาณ​ ​ที่​ ๑ ​ถึง
​ลำ​ดับโคตรภูญาณที่​ ๑๓ ​ตามสมควร)
มหา​โสดาบัน​ ๑ ( ​อริยบุคคล​ผู้​แทงตลอด​ใน​ลำ​ดับแห่งญาณ​ ๑๖ ​โดย​สมบูรณ์​ )

ใน​บรรดา​โสดาบันบุคคล​ทั้ง​ ๒ ​ประ​เภทนี้

๑. ​จูฬโสดาบันย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​ ๑ ​ชาติบ้าง​ ๒ ​ชาติบ้าง​ ๓ ​ชาติบ้าง​ ​ตามสมควรแก่
​กำ​ลังแห่งอินทรีย์​ ๕ ​ของแต่ละบุคคล
​กล่าวคือ
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสัทธินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​อย่างน้อย​ ๑ ​ชาติ​ ​เป็น​เบื้องต้น
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีวิริยินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สัทธิทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสตินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​วิริยินทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีสมาธินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สตินทรีย์​ !
จูฬโสดาบัน​ ​ผู้​มีปัญญินทรีย์​แก่กล้าย่อมปิดอบายภูมิ​ไว้​ได้​มากชาติกว่า​ ​สมาธิทรีย์​ !

๒. ​มหา​โสดาบันย่อมปิดอบายภูมิ​ได้​โดย​เด็ดขาด​ ​กล่าวคือ​ ​ไม่​หวนกลับไปบังเกิด
​ใน​ ​อบาย​ ( ​เดรัจฉาน​ ) , ​ทุคติ​ ( ​เปรต​ ) , ​วินิบาต​ ( ​อสุรกาย​ ) , ​นิรยะ​ ( ​นรก​ )
​เหตุนี้​ ​มหา​โสดาบัน​จึง​ได้​นามว่า​ ​"​ผู้​ข้ามโคตร​แล้ว"​ ​เพราะ​ ​ย่อม​ไม่​หวนกลับไป
​สู่​ " ​เหฏฐิมสงสาร​ " ​อัน​เป็น​สงสารเบื้องต่ำ​ของภูมิปุถุชนอีกต่อไป

จาก​พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริ​เฉทที่​ ๑ ​อภิธรรมมูลนิธิ
พระ​โสดาบันจำ​แนก​ได้​ ๓ ​พวก

๑. ​เอกพิชี​โสดาบัน​ ​เป็น​พระ​โสดาบันที่มีพืชกำ​เนิดอีกเพียงหนึ่งคือ​ ​พระ​โสดาบัน​ผู้​นั้น​จะ​ต้อง​ปฏิสนธิ​เป็น​มนุษย์​หรือ​เทวดาอีกชาติ​เดียวก็บรรลุอรหัตตผล

๒.​โกลังโกลโสดาบัน​ ​คือพระ​โสดาบัน​ผู้​ต้อง​ปฏิสนธิ​เป็น​มนุษย์​หรือ​เทวดาอีก​ ​ใน​ระหว่าง​ ๒ ​ถึง​ ๖ ​ชาติ​ ​จึง​จะ​บรรลุอรหัตตผล

๓.​สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน​ ​คือพระ​โสดาบัน​ผู้​ต้อง​ปฏิสนธิอีก​ถึง​ ๗ ​ชาติ​ ​จึง​จะ​บรรลุอรหัตตผล

ที่​แตกต่าง​กัน​เช่นนี้​ ​เป็น​เพราะ​อินทรียแก่กล้า​ไม่​เท่า​กัน​ ​จึง​ทำ​ให้​ความ​มุ่งมั่น​ใน​การบรรลุอรหัตตมัคคอรหัตตผล​ใช้​เวลานาน​ไม่​เท่า​กัน​ไป​ด้วย​ ​แต่อย่างไรก็ดีพระ​โสดาบันก็​ไม่​ต้อง​ปฏิสนธิ​ใน​ชาติที่​ ๘ ​เพราะ​แม้​จะ​เป็น​ผู้​เพลิดเพลินมี​ความ​ประมาท​อยู่​บ้าง​ ​ก็​ต้อง​บรรลุอรหัตตผล​ใน​ชาติที่​ ๗ ​แน่นอน

​แต่​ยัง​มีพระอริยโสดาบันอีกประ​เภทหนึ่ง​ ​ที่​ไม่​นับรวม​อยู่​ใน​พระอริยโสดาบัน​ ๓ ​ประ​เภทที่กล่าวมา​นั้น​ ​
พระอริยโสดาบันประ​เภทนี้​เรียกว่า​ “ ​วัฏฏาภิรตโสดาบัน​ “ ​เป็น​อริยโสดาบันที่มีอัธยาศัย​ยัง​ยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​
ปรารถนาที่​จะ​เที่ยวปฏิสนธิ​ไป​ใน​เทวโลก​ทั้ง​ ๖ ​ชั้นตลอดไปจน​ถึง​ ​อกนิฏฐภพ​ ​ดังปรากฏ​ใน​บุคคลบัญญัติอรรถกถาว่า

ยัง​มีพระ​โสดาบันบางจำ​พวกมีอัธยาศัยยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะท่องเที่ยวไปปรากฏ​ใน​วัฏฏะบ่อยๆ​ ​ชนเหล่า​นั้น​คือ​ ​อนาถบิณฑิกเศรษฐี​ ​วิสาขาอุบาสิกา​ ​จูฬรัตถเทพบุตร​ ​มหารัตถเทพบุตร​ ​อเนกวรรณเทพบุตร​ ​ท้าวสักกเทวราช​ ​นาคทัตตเทพบุตร​ ​ท่านเหล่านี้​ ​ยัง​มีอัธยาศัยยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​กระทำ​เทวโลก​ทั้ง​ ๖ ​ให้​หมดจด​ ​ตั้งแต่​เริ่มต้น​แล้ว​ ​ก็​จะ​ดำ​รง​อยู่​ใน​ ​อกนิฏฐภพ​ ​จึง​จะ​ปรินิพพาน​ ​พระ​โสดาบันเหล่านี้​ ​ท่าน​ไม่​ประมวล​เข้า​ใน​สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน
(พระอภิธัมมัตถสังคหะ​ ​ปริ​เฉทที่​ ๑ ​ตอนที่​ ๒ ​จิตปรมัตถ์​ ​หน้า​ ๘๕ ​ของอภิธรรมมูลนิธิ​)

....................................................

สรุป

จูฬโสดาบัน​ ​คือ​ ​กัลยาณปุถุชน​ผู้​แทงตลอดลำ​ดับแห่งนามรูปปริ​เฉทญาณ​ ​ที่​ ๑ ​ถึง​ ​ลำ​ดับโคตรภูญาณที่​ ๑๓ ​ตามสมควร
(​ยัง​ไม่​เป็น​ ​อริยบุคคล​ ​ปิดอบายภูมิ​ไม่​ได้​อย่างถาวร)

วัฏฏาภิรตโสดาบัน​ ​เป็น​อริยโสดาบันที่มีอัธยาศัย​ยัง​ยินดีพอใจ​ใน​วัฏฏะ​ ​(​เป็น​พระอริยบุคคล​ ​ปิดอบายภูมิ​ได้​ ) ​เช่น​ ​อนาถบิณฑิกเศรษฐี​ ​วิสาขาอุบาสิกา​ ​จูฬรัตถเทพบุตร​ ​มหารัตถเทพบุตร​ ​อเนกวรรณเทพบุตร​ ​ท้าวสักกเทวราช​ ​นาคทัตตเทพบุตร

.....................................................


​ภพภูมิ​เป็น​เรื่องของวิบาก​หรือ​ผลของกรรมที่​จะ​พา​ให้​ผู้​นั้น​ไปเกิด​เป็น​อะ​ไรต่างๆ​ "

ใน​พระพุทธศาสนา​ ​เรียกว่า​ " ​ฐานภูมิ​ " ( ​อ่านว่า​ ​ฐา​ - ​นะ​ - ​ภูมิ​ ) ​ครับ​ !



"...​ภูมิจิตภูมิธรรม​ เป็น​คุณลักษณะของจิต​ "

ใน​พระพุทธศาสนา​ ​เรียกว่า​ " ​อาวัตฐานภูมิ​ " ( ​อ่านว่า​ ​อา​-​วัต​ - ​ฐา​ - ​นะ​ - ​ภูมิ​ )