Saturday, December 29, 2007

เมื่อผมถูกด่า...

เคยมีพราหมณ์คนหนึ่งด่าว่าพระพุทธเจ้าอย่างหยาบคาย​ ​รุนแรง​ ​พระพุทธเจ้ารับฟัง​ด้วย​อาการสงบ​ ​ไม่​โต้ตอบเลยแม้สักคำ​เดียว​ ​จนพราหมณ์ด่าว่าจบ​(​ไม่​รู้ว่า​เพราะ​หมดแรงซะก่อน​หรือ​เปล่า) ​พระพุทธเจ้า​จึง​กล่าวถามพราหมณ์ว่า​ "พราหมณ์​ ​ถ้า​มี​แขกมาบ้านท่าน​ ​ท่านก็ต้อนรับ​ด้วย​อาหารคาว​-​หวาน​ ​แต่​แขกที่มา​นั้น​ไม่​กินอาหารที่ท่านนำ​มาต้อนรับเลย​ ​แล้ว​กลับไป​ ​อาหาร​นั้น​จะ​เป็น​ของใคร" ​พราหมณ์ตอบว่า​ "ก็​เป็น​ของข้า​ผู้​เป็น​เจ้าของบ้านน่ะซิ​" ​พระพุทธเจ้า​จึง​บอกแก่พราหมณ์ว่า​ "ก็​เหมือน​กัน​พราหมณ์​ ​สิ่งที่ท่านต้อนรับเรา​ด้วย​คำ​ด่าว่า​ทั้ง​หลายนี้​ ​เรา​ไม่​ขอรับ" ​พราหมณ์​เกิดสำ​นึกผิด​ ​ที่กล่าวด่าว่าต่อ​ผู้​ที่มีคุณธรรมสูง​ ​ควรที่​จะ​ให้​ความ​เคารพนับถือ​ ​จึง​ก้มลงกราบพระพุทธเจ้าอย่างนอบน้อม​



คำ​ด่า​ ​ดีอย่างไร สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม และมีโยโสมนสิการ

1. ​ทดสอบตนเอง
พิจารณาดูว่า​ ​ขณะ​เราถูกด่า​ ​เกิดการกระทบ​ ​เรา​ยัง​มีอาสวะคือ​ ​ความ​โกรธ​ ​หรือ​ไม่
บางคนหลงคิดว่าเราไปถึงขั้นไหนๆแล้ว
นั่งสมาธินิ่งจิตสงบเหลือเกิน
นึกว่าตนเอง​ ​ไม่​มีราคะ​ ​โทสะ​ ​โมหะ
เจอคนด่าปัง​ ​เกิดโมโห​ขึ้นมาปั๊บ
แสดงว่า​ ยังต้องปรับปรุง

พิจารณารู้ตัวว่า​ตนมีอาการอย่างไร โมโหอย่างไร
เริ่มโมโหตรงไหน และตรงไหนที่ทำให้อารมณ์ตนเองคุคั่งไม่เลิก
หรือถ้าตั้งสตินึกได้เร็ว หรือเห็นแล้วว่าลดทอนเบากว่าเดิม
ก็ถือเสียว่าก้าวหน้าขึ้นบ้าง แต่ก็ต้องปรับปรุงต่อไป


2. ​พิจารณาตนเอง
ได้ถือโอกาสตรวจดูว่า​ ​เรามีพฤติกรรมอะ​ไรควรปรับปรุง
มีอาการอย่างไรจาก​การบริภาษ​ ​เหล่า​นั้น

บางอย่างในยามปกติเราไม่เคยมีอาการ
แต่พอมีอะไรสะกิดให้อารมณ์ฟุ้งขึ้นมาได้
เราก็ได้เห็นตัวเรา ธรรมชาติของตัวเรามากขึ้น
ยิ่งสังเกตมากยิ่งรู้จักตัวเองตามสภาพความเป็นจริง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในทางธรรม
ได้รู้ว่าละอะไรได้บ้าง ละอะไรไม่ได้บ้าง


3. ​รู้​ผู้​อื่น
พิจารณาที่​เขา​ บริภาษ​ ​เรา​อยู่​นั้น จะได้เห็นว่าเขา​มีภูมิจิตภูมิธรรมอย่างไร
ยิ่ง​พิจารณา​ให้​ดี​จะ​มีประ​โยชน์​ยิ่ง
บางครั้งถ้าตั้งจิตพิจารณาดีดีจะรู้สึกสงสารเขา
คนเราบางทีมีโอกาสไม่เท่ากัน ยิ่งเห็นภูมิจิตภูมิธรรมของคน
จะยิ่งรู้สึกว่าเราโชคดีนักที่ได้พิจารณาเห็นธรรมที่เขาไม่เห็น
ยิ่งสังเวชโลก ยิ่งตั้งใจปฏิบัติธรรม

4. ​มีพุทธพจน์ ทรงตรัสสอนไว้ว่า..

น​ ​เต​ ​อหํ​ ​อานนฺท​ ​ตถา​ ​ปรกฺกมิสฺสามิ
อานนท์​ ​เราจัก​ไม่​พยายามทำ​กะพวกเธอ​ ​อย่างทะนุถนอม
ยถา​ ​กุมฺภกา​โร​ ​อามเก​ ​อามกมตฺ​เต
เหมือนพวกช่างหม้อ​ ​ทำ​แก่หม้อ​ ​ที่​ยัง​เปียก​ ​ยัง​ดิบ​อยู่
นิคฺคยฺหนิคฺคยฺหาหํ​ ​อานนฺท​ ​วกขามิ
อานนท์​ ​เราจักขนาบ​แล้ว​ ​ขนาบอีก​ ​ไม่​มีหยุด
ปวยฺหปวยฺหาหํ​ ​อานนฺท​ ​วกฺขามิ
อานนท์​ ​เราจักชี้​โทษ​แล้ว​ ​ชี้​โทษอีก​ ​ไม่​มีหยุด
โย​ ​สา​โร​, ​โส​ ​ฐสฺสติ
ผู้​ใด​มีมรรคผลแก่นสาร​ ​ผู้​นั้น​จักทน​อยู่​ได้​ (ม​. ​อุ​. 14/356)


​นิธีนํว​ ​ปวตฺตารํ​ ​ยํ​ ​ปสฺ​เส​ ​วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ​ ​เมธาวึ​ ​ตาทิสํ​ ​ปณฺฑิตํ​ ​ภเช
คนเรา​ ​ควรมอง​ผู้​มีปัญญา​ใดๆ​ ​ที่คอยชี้​โทษ​ ​คอยกล่าว
คำ​ขนาบ​อยู่​เสมอไป​ ​ว่าคน​นั้น​แหละ​ ​คือ​ผู้​ชี้ขุมทรัพย์​,
ควรคบบัณฑิตที่​เป็น​เช่น​นั้น
ตาทิสํ​ ​ภชมานสฺส​ ​เสยฺ​โย​ ​โหติ​ ​น​ ​ปาปิ​โย
เมื่อคบหา​กับ​บัณฑิตชนิด​นั้น​อยู่​ ​ย่อมมี​แต่ดีท่า​เดียว​ ​ไม่​มี​เลวเลย​. (ขุ​. ​ธ​. 25/16 )

5. อย่าลืมน้อมตัวอย่างของพระพุทธเจ้า ที่นำมากล่าวข้างต้น

หลังจากนี้ เราจะฟังคำด่าด้วยโยนิโสมนสิการ และรู้สึกเหมือนเข้าสนามทดสอบรถฟอร์มูล่าวัน

เจริญในธรรมครับ

Thursday, December 13, 2007

Dusit hotel : Pattaya

อุปมาขันธ์

เผณปิณฑสูตร (ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕) <<<

[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี.
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำกลุ่มฟองน้ำใหญ่มา
บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่าหาสาระมิได้เลย
สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็นเพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
รูปนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย
ฟองน้ำในน้ำ ย่อมบังเกิดขึ้นและดับไป
บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาเวทนานั้นอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
เวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่
พยับแดด ย่อมเต้นระยิบระยับในเวลาเที่ยง
บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสัญญานั้นอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในสัญญาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น
เสาะหาไม้แก่น เที่ยวแสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า
บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น
พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก
บุรุษนั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน
บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้
แก่นในต้นกล้วยพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็นเพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในสังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง
บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย
เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในกลพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด.

วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้
ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุเห็น เพ่งพิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย
วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้।

.......................................................................................